โครงการ Deferred Action for Childhood Arrivals (DACA)

1

โครงการ Deferred Action for Childhood Arrivals (DACA) เป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นโดยประธานาธิบดี Barack Obama ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่ม undocumented young people ที่มีคุณสมบัติตามที่ได้ประกาศ ได้รับใบอนุญาตทำงาน สามารถเรียนหนังสือ และถูกยกเว้นจากการถูกส่งกลับประเทศ โดยเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2558 รัฐมนตรี Janet Napolitano รัฐมนตรีว่าการกระทรวง Homeland Security สหรัฐฯ ได้ประกาศรับสมัคร undocumented young people และอาศัยอยู่อย่างผิดกฏหมาย โดยผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. อายุไม่เกิน 31 ปี ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2555
  2. เข้ามาในสหรัฐฯ ก่อนอายุ 16 ปีบริบูรณ์
  3. อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2550 จนถึงปัจจุบัน
  4. อยู่ในสหรัฐฯ ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2555 และในช่วงเวลาที่ยื่นคำร้องกับ USCIS
  5. ไม่มีสถานะที่ถูกต้อง ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2555
  6. กำลังศึกษาอยู่ หรือจบการศึกษาแล้ว หรือกำลังจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา และได้รับผล General Education Development (GED) หรือเป็นผู้ที่ปลดประจำการจาก U.S. Coast Guard / Armed Forces of United States
  7. ไม่ต้องโทษร้ายแรง หรือลหุโทษขั้นร้ายแรง หรือต้องลหุโทษ 3 ข้อหาหรือมากกว่านั้น และไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติและสังคม

 

2เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ที่ผ่านมา The National Korean American Service and Education Consortium (NAKASEC) ได้จัดงานเฉลิมฉลองการครบรอบ 3 ปี ของ DACA โดยได้เชิญ Mr. Mark Herring อัยการประจำมลรัฐเวอร์จิเนีย และนายศิระ สว่างศิลป์ อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูตไทยฯ เข้าร่วม รวมทั้งผู้นำองค์กรที่เกี่ยวข้องในบริเวณกรุงวอชิงตัน อาทิ Mr. Mark Keam, Executive Director, Council of Korean Americans (CKA) Mr. Sam Yoon และ Ms. Jackie Cortes จาก Dreamers of Virginia และ Mr. Rodrigo Velasquez ผู้ก่อตั้ง Virginia Coalition of Latino Organizations (VACOLAO) และผู้ที่เข้าร่วมโครงการ (DACA) จากมลรัฐเวอร์จิเนียกว่า 40 คน

 

 

 

3งานเฉลิมฉลองดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงการที่โครงการ DACA ได้เปลี่ยนชีวิตของundocumented young people จำนวนมาก โดยในระหว่างงาน Mr. Herring ได้กล่าวถึงความสำคัญของโครงการ DACA ว่า ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อกลุ่มเยาวชน Korean American และ Asian American อย่างไรก็ตาม ก็ยังมี Korean American และ Asian American อีกกว่าหลายพันคนที่ยังไม่ได้สมัครเข้าร่วมโครงการดังกล่าว นอกจากนี้ Mr. Herring ยังได้เชิญชวนให้ undocumented young people เข้าร่วมสมัครโครงการ DACA ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวแล้ว ยังจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงพลังของกลุ่มเยาวชนดังกล่าวด้วย และเชิญชวนให้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครกับองค์กรในลักษณะเดียวกับ NAKASEC เนื่องจากจะเป็นการยกระดับสิทธิของกลุ่มเยาวชน Korean American และ Asian American

 

นอกจากนี้ Mr. Jung Bin Cho ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการ DACA ในมลรัฐเวอร์จิเนีย ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับโครงการ DACA ว่า โครงการดังกล่าวเป็นการเปิดประตูให้กับตนเอง และช่วยให้บรรลุไปสู่จุดมุ่งหมาย โดยยกตัวอย่างว่า โครงการ DACA ทำให้ตนเองได้มีโอกาสเข้าเรียนในวิชา Business Information Technology ที่ Virginia Polytechnic Institute and State University (Virginia Tech) และได้กล่าวเชิญชวนกลุ่ม undocumented เข้าร่วมโครงการ DACA เพื่อที่จะสามารถเรียนหนังสือ และอยู่ทำงานได้ โดยไม่ต้องกลัวการถูกจับกุม และถูกส่งตัวกลับประเทศ

 

4Mr. Dae Joong Yoon, Executive Director, NAKASEC ได้กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากที่ได้เห็นกลุ่มเยาวชนจำนวนกว่าหลายพันคนก้าวไปสู่ความฝันของพวกเขา อาทิ ครู นักสังคมสงเคราะห์ โดยเริ่มต้นจากการได้รับหมายเลขประกันสังคม ใบอนุญาตทำงาน โดยในช่วง 2 ปีแรกของโครงการ DACA องค์กร NAKASEC สาขามลรัฐเวอร์จิเนีย และกลุ่มภายในสังกัดอีก 2 กลุ่ม ได้แก่ The Korean Resource Center (KRC) มลรัฐ California และ The Korean American Resource and Cultural Center (KRCC) มลรัฐ Illinois ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ DACA แก่เยาวชนที่สนใจกว่า 11,000 ราย และให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว 4,345 ราย และได้ดำเนินการด้านเอกสารกว่า 1,300 ราย โดยส่วนใหญ่มาจากชุมชน Korean American นอกจากนี้ ยังกล่าวว่า สถิติเยาวชนที่ได้รับการตอบรับเข้าร่วมโครงการ DACA ของประเทศเกาหลีใต้ อยู่ในอันดับที่ 6  และฟิลิปินส์อยู่ในอันดับที่ 10

 

5สำหรับพี่น้องชาวไทยที่ต้องการหารือข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ DACA และปรึกษาเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการ DACA ก็อาจจะพิจารณาติดต่อ The National Korean American Service and Education Consortium (NAKASEC) ที่ http://nakasec.org/

 

 

 

 

 

ศรัณย์ สุวรรณเนตร