ชี้เป้าตลาด EU โอกาสอุตสาหกรรมอาหารไทย

558000009034701

3 สิงหาคม 2558 10:37 น. (แก้ไขล่าสุด 4 สิงหาคม 2558 17:27 น.)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้สินค้าอาหารและเกษตรแปร รูปของไทยมีศักยภาพและโอกาสในการเข้าทำตลาด EU เพราะมีเครือข่ายตลาดใหญ่ และเชื่อมต่อไปยังตลาดโลก ระบุต้องเน้นสินค้าพรีเมียมและเทคโนโลยี

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยบทความหัวข้อ “EU … เป้าหมายการลงทุนที่น่าสนใจของอุตสาหกรรมอาหารไทย” โดยเนื้อหาเผยว่า ท่ามกลางหลากปัจจัยที่กดดันการส่งออกสินค้าไทยไปสหภาพยุโรป (EU) ทั้งการถูกสหภาพยุโรปตัดสิทธิ GSP สินค้าไทยทุกรายการ ในปี 2558 รวมถึงกฎระเบียบด้านการค้าที่เข้มงวดขึ้นทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและมาตรฐาน การผลิต ล้วนเพิ่มแรงกดดันต่อผู้ประกอบการส่งออกไทยในภาวะที่เงินยูโรมีแนวโน้มอ่อน ค่าลงอีก ซึ่งหากมองในอีกด้านหนึ่งก็อาจเปิดโอกาสให้ธุรกิจไทยเข้าไปแสวงหาช่องทางลง ทุนในยุโรป ทั้งการเข้าซื้อกิจการ หรือร่วมทุนในกิจการที่มีเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง หรือการมีเครือข่ายฐานการตลาดขนาดใหญ่ ตลอดจนการเข้าไปตั้งฐานการผลิตในประเทศยุโรปตะวันออกเพื่อลดต้นทุนการผลิต และการกระจายสินค้าภายในภูมิภาคยุโรป ขณะที่มาตรฐานการผลิตที่สูงของยุโรปจะเป็นใบเบิกทางในการส่งออกสินค้าต่อไป ยังประเทศที่สามได้ด้วย

อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและการผลิตสินค้าอาหารเป็นอุตสาหกรรม เด่นที่ไทยมีศักยภาพการผลิตและมีโอกาสขยายการลงทุนไปยังสหภาพยุโรป สามารถตอบโจทย์ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการคงส่วนแบ่งในตลาดยุโรป ตลอดจนผลิตเพื่อส่งออกไปยังตลาดโลก ขณะที่ยุโรปก็มีความหลากหลายของมิติการลงทุน ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรพิจารณาเลือกพื้นที่ลงทุนตามวัตถุประสงค์และตลาดผู้ซื้อ เป็นสำคัญ โดยหากเน้นการลงทุนอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารที่อาศัยเทคโนโลยีและเน้นสินค้า อาหารพรีเมียม การตัดสินใจลงทุนในยุโรปตะวันตกจะเอื้อประโยชน์ในการทำตลาดยุโรปตะวันตกที่ มีกำลังซื้อสูง และยังได้อานิสงส์จากการเป็นศูนย์กลางการขนส่งช่วยกระจายสินค้าไปยังตลาด ต่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง

อย่างไรก็ดี หากต้องการลงทุนในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร อาทิ อาหารสัตว์ รวมไปถึงอุตสาหกรรมอาหารที่ไม่มีความซับซ้อนมากนัก ควรเลือกลงทุนในยุโรปกลางและตะวันออกที่มีต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่ำกว่ายุโรป ตะวันตก

ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าต้นทุนค่าจ้างแรงงานในสหภาพยุโรปโดยเฉลี่ยอาจสูงกว่าค่าจ้างแรงงาน ในไทย แต่สหภาพยุโรปมีความได้เปรียบเรื่องต้นทุนค่าขนส่ง และภาษีศุลกากร รวมไปถึงข้อได้เปรียบจากแรงงานที่มีคุณภาพและระบบลอจิสติกส์ที่ได้มาตรฐาน ของสหภาพยุโรป ยังจะช่วยผู้ประกอบการไทยลดต้นทุนทางอ้อม

อย่างไรก็ดี การลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารในสหภาพยุโรปยังมีประเด็นความแตกต่างในรายละเอียด ที่ผู้ประกอบการไทยต้องให้ความสำคัญ อาทิ นโยบายการส่งเสริมการลงทุนที่นอกจากจะแยกไปตามประเทศแล้ว ยังมีความแตกต่างกันไปตามเขตการปกครองแต่ละประเทศ ในด้านภาษาท้องถิ่นที่แม้ว่าประเทศในยุโรปส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษา ราชการ หากแต่ในขั้นตอนการทำธุรกรรมกับประเทศนั้นๆ การใช้ภาษาท้องถิ่นอาจได้รับความสะดวกมากกว่า รวมไปถึงนโยบายการเงินของแต่ละประเทศเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากจะส่งผลถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและกระทบต่อกลยุทธ์การตั้งราคา ขายของสินค้าที่ผลิตในแต่ละประเทศ

ที่มา: http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000087265