เจาะลึก”ไส้เดือนตาบอดฯ” นิยายซีไรต์ปี′58 อ่านความคิด”วีรพร”นักเขียนหญิงที่น่าจับตามอง

updated: 22 ต.ค. 2558 เวลา 15:15:40 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 

“ประชาชาติออนไลน์ฯ” ขอนำบทสัมภาษณ์จากเว็บไซต์มติชนออนไลน์มาเผยแพร่อีกครั้ง หลังจากผลประกาศรางวัลซีไรต์ ประเภทนวนิยาย ประจำปี 2558 ประกาศออกมาแล้ว และปรากฏว่า ผู้คว้ารางวัลคือ “วีรพร นิติประภา” นักเขียนหญิง เจ้าของผลงานนวนิยายเล่มแรกในชีวิต “ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต”

มาฟังมุมมองของนักเขียนหญิงอีกคนที่น่าจับตามอง
“รักน้ำเน่าต่อการเมืองที่คนดูเป็นล้านรอบ…”มุมมองจากผู้เขียนนิยาย “ไส้เดือนตาบอดฯ” (สัมภาษณ์เมื่อเดือนกันยายน 2558)

 

แวดวงวรรณกรรมไทยมีผลงานน่าสนใจเข้าชิงรางวัลซีไรต์ปีนี้ 9 เรื่อง ผลงานที่นักอ่านจับตามีชื่อหนังสือนวนิยาย “ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต” ของคุณวีรพร นิติประภา นักเขียนหญิงซึ่งเพิ่งเขียนหนังสือเล่มแรกและได้เข้าชิงรางวัลใหญ่

หนึ่งในนักเขียนหญิงที่มาแรงที่สุดในยุคนี้เปิดเผยเกร็ด ข้อมูลเกี่ยวกับการเขียนหนังสือเล่มนี้ไปจนถึงแนวคิดการใช้ชีวิตและความคิด เห็นต่อเหตุการณ์ความเป็นไปทางสังคมต่างๆที่น่าสนใจ

 

14425498781442552602l

 

เริ่มคิดอยากเขียนหนังสือเมื่อไหร่
 
เรื่องอยากเขียนหนังสือ คิดมาตลอดชีวิตตั้งแต่เด็กๆ แล้ว แต่เพิ่งมีโอกาสเขียนจริงๆ ก็คือตอนนี้ แต่สำหรับเล่มนี้พี่รู้สึกอยากเขียนเมื่อปี 2553 จากเหตุการณ์วุ่นวาย พี่รู้สึกอยากเขียน
 
ก่อนหน้านี้ทำงานหลายด้าน ทักษะการเขียนตรงนี้ได้มาจากไหน
 
เรื่องการเขียน พี่อ่าน คนอ่านหลายคนชอบบอกว่าเล่มนี้มันมี Visual (ภาพ) มันมีภาพ ซึ่งอันนี้คงได้จากการชอบดูหนัง และเราทำโฆษณาก็ดูหนังเยอะโดยธรรมชาติ คือสถานการณ์บังคับให้ต้องดูหนัง ส่วนเพลงก็ชอบฟังอยู่แล้วก็จะได้ใช้สิ่งนี้เป็นส่วนประกอบในการเขียนมากกว่า
 
กระบวนการเขียนหนังสือเป็นอย่างไร วางพล็อตอย่างไรบ้าง
 
(ถอนหายใจ) สำหรับตัวนี้แทบไม่มีวางพล็อต เรียกได้ว่ามาถึงก็โขลกไปเรื่อยๆ เหมือนทำกับข้าว หนังสือเล่มนี้เหมือนทำกับข้าวคือเอาหมูมาสับๆ ใส่ชามไว้ ตำกระเทียม ตำพริกและแยกไว้ แบบที่คุณเห็นเขาออกทีวีแล้วทำกับข้าว แล้วก็ปรุง ตอนนี้ก็เริ่มตัดเข้าตัดออก (ไม่ได้ลำดับเรื่องมาก่อน?) ไม่เลยค่ะ เอาเท่าที่นึกออกแล้วก็เขียน ไส้เดือนฯ ในเวอร์ชั่นแรกๆของมันตอนที่เสร็จใหม่ๆ ตัวมันเป็นภาพเดียวใหญ่ๆ เลย เหมือนเราอินเสิร์ทใส่ภาพเคลื่อนไหวได้ตามมุม มันจะเริ่มตรงไหนก็ได้ แล้วก็ลากมาเป็นเรื่องของคนทั้งหมด มันถึงมีการสลับ หมายถึงมีช่วงแฟลชแบ็ค (ตัดย้อนอดีต) เริ่มขึ้นเลย ถ้าอ่านไป คนอ่านจะรู้ว่าไอ้บทที่มันขึ้นต้นเป็นแฟลชแบ็ค ซึ่งยาวๆ มาก แฟลชแบ็ค 5 บทถึงเข้าเรื่อง 
 
โดยธรรมชาติการเขียนแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะสลับไปมาหรอก คุณเขียนทางตรงก็เขียนไปเรื่อยๆ ไส้เดือนฯ ก็เป็นแบบนั้นคือเขียนมาเรื่อยๆ แล้วพิมพ์ออกมาแล้วก็ตัดสลับเลยหละ ไม่ชอบก็ฉีกใหม่ สลับใหม่อย่างนั้นเลย
 
ทำไมแรงบันดาลใจการเขียนจากเหตุการณ์เมื่อปี 2553 กลายมาเป็นพล็อตเรื่อง “ความรัก” 
 
คือพี่มีเรื่องจะเล่าไง พี่เห็นมายาคติบางอย่างที่เกิดขึ้น พี่เห็นความรุนแรงซึ่งมันสูงเกินกว่าความขัดแย้งในตัวของมันเอง พี่หมายถึง ประเทศไหนก็มีความขัดแย้งอยู่ ต้องมีคนที่ชอบขวาจัด ซ้ายจัด ตรงกลางจัด แต่ว่ามันไม่รุนแรงเท่านี้ คำถามของพี่คือทำไมรุนแรงเท่านี้ ทำไมมีการเผชิญหน้า ที่แย่ที่สุดสำหรับพี่คือมีการตาย ซึ่งพี่ไม่ชอบเลย พี่ว่าพี่รับไม่ได้ในอายุเท่านี้นะคะ หมายถึงพี่ผ่าน 14 ตุลา ผ่าน 6 ตุลา แล้วรู้สึกว่าในช่วงชีวิตคนหนึ่งเห็นการฆ่าหมู่กลางเมืองแบบนี้นี่มันเยอะไป
 
เรื่องราวในหนังสือสะท้อนเรื่องที่อยากเล่าอย่างไรบ้าง
 
แทบ จะไม่มีเลยมั้งดูเหมือนมีอยู่ฉากเดียวที่อ้างอิงถึงปี53ซึ่งก็อ้างบางๆ เหมือนเวลาเราขึ้นต้นเรื่องด้วยอะไรเราก็อยากเก็บจุดนั้นของเหตุการณ์ไว้ แต่แทบไม่มีผลต่อเรื่อง เหมือนเวลาที่เราทำงาน เราพยายามหาคำตอบด้วยว่ามันเกิดอะไรขึ้น จริงๆ พี่ไม่ได้หนักแน่นมั่นใจว่าจะเขียนเรื่องมายาคติตั้งแต่ต้น แต่ระหว่างที่ทำงาน พี่ค่อยๆ เข้ามาออ มันเป็นอย่างนี้นะทีละขั้นเริ่มที่เราไปหาอะไรที่ติดอยู่ในใจเรา อะไรที่ทำให้คนไม่รักกันแล้ว อะไรทำให้คนรักกันหละ ถ้าเกิดว่าเรารัก ในความรักมีกี่แบบ แล้วความเกลียดหละ มีกี่ชนิด อย่างนั้นมากกว่า
 
แสดงว่าเขียนหนังสือเพื่อปลดปล่อยด้วยหรือเปล่า 
 
อาจ ไม่ได้เรียกว่าปลดปล่อยแต่เหมือนทำความเข้าใจกับสิ่งที่ไม่เข้าใจไม่คิดว่า ข้อเสนอแนะในไส้เดือนฯหรือของใครก็แล้วแต่จะเป็นข้อเสนอแนะที่ชี้ชัดแน่นอน ลงไปทำไม่ได้หรอกเราสื่อสารกับคนอ่านก็คงมีคนอ่านที่เห็นด้วย-ไม่เห็นด้วยคน อ่านบางคนที่ชอบชารียา บางคนที่ชอบพี่สาวเขา บางคนที่ชอบลุงธนิต บางคนไม่ชอบใครเลยก็แล้วแต่ หรือแม้แต่หนังสือที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ หรือที่ยิ่งใหญ่จริงๆ อย่างของเพลโต แน่นอนก็ต้องมีข้อโต้แย้ง ไม่คิดว่านักเขียนเขียนเพื่อทำข้อสรุป เขียนเพื่อถามคำถามแค่นั้นเอง “ว่าคุณคิดว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือ?” คุณคิดว่าสิ่งที่เชื่อมันเป็นอย่างที่คุณเชื่อจริงๆหรือ ?
14425498781442552235l
จากการเขียนเพื่อตั้งคำถาม เมื่อตั้งแล้วได้อะไรกลับมา ?
 
สำหรับส่วนตัวนะ พี่ก็ไม่ได้คำตอบแม้ว่าพี่อยากได้คำตอบ คำถามที่ได้กลับมาคือพี่ก็ยังถามต่อว่าแล้วถ้าคนเราอยู่โดยไม่มีมายาคติแล้วจะเป็นอย่างไร หมายถึงเป็นคำถามส่วนตัวหลังจบเล่มนี้ ความรักดูเหมือนเป็นสิ่งสูงส่งในชีวิตคน คนคิดว่าการมีความรักทำให้เราเป็นคนดีขึ้นหรือเสียสละขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเมื่อตั้งคำถามขึ้นมา คนอยู่ด้วยกัน เรามีมายาคติ พอเขียนจบ คำถามก็มาใหม่ ถ้าไม่มีมายาคติจะอยู่ได้ไหม หรือมนุษย์ชนิดไหนที่ไม่มีมายาคติ หรืออยู่ในภาวะไม่มีมายาคติในท้ายที่สุดแล้ว ก็คงต้องว่ากันต่อในเล่มต่อไป (หัวเราะ)
 
ทำไมเลือกฉากหลังเป็นช่วงย้อนยุคหลัง 6 ตุลา
 
ตรงนั้นไม่เยอะเท่าไหร่ เป็นแบ็คกราวด์คร่าวๆ แต่เรื่องเซ็ตในทศวรรษที่ 90 มากกว่า เพราะเป็น Globalization เป็นโลกาภิวัฒน์ เริ่มใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่วงแรก มีข้อมูลไหลเข้าไหลออก พี่พบว่าข้อมูลนี่แหละที่ทำให้มายาคติแข็งแรงจนควบคุมไม่ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้มันไม่เป็น ก่อนหน้านี้ดูเหมือนว่าเราได้รับข่าวสารน้อย พอน้อยเราจะใช้สามัญสำนึกสูงกว่า หมายความว่า ได้ยินอะไร 3 ครั้งก็อาจเชื่อ แต่ก่อนนี้อาจได้ยินครั้งเดียวแล้วก็เชื่อสามัญสำนึกแล้วว่าเรื่องนี้เป็นไปได้แค่ไหน จนกว่าจะได้ยินอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจกินเวลาอีก 5 ปีถัดมา คือมีเวลาตรองมีเวลาเก็บข้อมูลอย่างอื่นด้วย แต่โลกาภิวัฒน์ไม่มีโอกาสให้คุณตรองข้อมูลทุกอย่างไหลเข้ามา
 
นอกจากแรงบันดาลใจจากปี 53 มีปัจจัยอื่นอีกบ้างที่หล่อหลอมงานชิ้นนี้ออกมา 
 
คือจริงๆ แล้วไม่ได้สนใจเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในเรื่อง แต่มันง่ายต่อการเขียนนิยาย โดยเฉพาะนิยายเล่มแรก คุณไม่รู้ว่าจะไปทางไหนอ่ะ ให้นางเอกปลูกต้นไม้แล้วกันเพราะคุณปลูกต้นไม้ มันง่ายดีที่จะอธิบายว่าคนคนหนึ่งทำอะไรในชีวิต ที่เหลือคือเรื่องเพลงซึ่งพี่กลับค้นพบระหว่างทำงานว่าเพลงมีอิทธิพลเยอะมากต่อคน ตั้งแต่เพลงโฆษณาไปจนถึงเพลงที่ได้ยินและไม่ได้ยิน ซึ่งค่อนข้างน่าสนใจ จากที่คิดว่ามันไม่มีอิทธิพลขนาดนั้น
 
ตั้งใจใส่รายละเอียดหรือศัพท์ต่างๆให้ผู้อ่าน ?
 
ตั้งใจค่ะ จริงๆ อีกเรื่องที่ไม่ค่อยพูดถึงบ่อยคือ “ไส้เดือน” ก็เป็นมายาคติ หมายถึงพี่ออกแบบขึ้นมาว่า มันจะมีเพลงขึ้นมา มันต้องมีลมเข้ามา ผ้าม่านจะปลิวขึ้นแบบนี้นะ ดอกไม้ร่วงแบบนี้นะ แล้วมันเป็นภาพ เราก็จะโน้มน้าวคนอ่านให้รู้สึกตามที่พี่รู้สึก ซึ่งถ้ากลับไปดูเหตุการณ์ ณ จุดนั้นของเรื่องมันไม่มีอะไรเลย ตัวหนังสือก็ทำหน้าที่เป็นมายาคติให้เห็นว่า มายาคติทำงานอย่างไร ควบคุมคุณอย่างไร ทำไมคุณถึงเศร้า เพราะมันมีใบไม้ค่อยๆร่วงลงมาจากต้นไม้ แล้วทำไมคุณเศร้าหละ เพราะคุณเคยเห็นซีนนี้ในหนังแล้ว เคยเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ทันทีที่ยกซีนแบบนี้ขึ้นมา โดยที่คุณไม่รู้ตัว คุณก็น้ำตาไหลพรากๆแล้ว 
 
เป็นแนวคิดจากคนทำโฆษณาด้วยหรือเปล่า
 
มันเป็นแนวคิด Impressionism งานเขียนหรือภาพเขียนหรือเป็นหนังก็มี คือมีลักษณะโน้มน้าวสูง สร้างอารมณ์ร่วมสูง (แสดงว่าเขียนหนังสือโดยใช้อ้างอิงแนวคิดทฤษฎีด้วย?) เปล๊า (เสียงสูง) บอกแล้วว่าโขลก คือเลือกไว้แล้วว่าจะทำงานที่เป็นมายาคติเองด้วย เราก็เริ่มใช้ทุกอย่างในมือตั้งแต่เสียง กลิ่น รส สัมผัส เอาเท่าที่เราดึงไปได้
14425498781442552165l
ใช้เวลารวบรวมข้อมูล รายละเอียดที่เป็นข้อมูลเฉพาะพวกพืช หนัง เพลง สถานที่ต่างๆ นานแค่ไหน
 
คุณก็แค่แก่แค่นั้นแหละ (หัวเราะ) คือถ้าคนอ่านอายุเท่าพี่ก็รู้หมดเหมือนกัน พออายุเยอะก็จะรู้ว่าอันนี้เรียกอย่างไร 
 
จริงๆ แล้วไลฟ์สไตล์เป็นอย่างไรถึงสัมผัสรายละเอียดเหล่านี้ได้หมด
 
พี่ อาจทำหลายอย่างนอกเหนือจากโฆษณาพี่เป็นคนช่างกินชอบปลูกต้นไม้และไม่เคยทำ งานประจำแบบประจำไปเลยหลังเลิกทำโฆษณาเกือบทุกอย่างหลังอายุ40มาก็คือทำงาน เป็นงานอดิเรก เอางานอดิเรกมาเป็นงาน ทำเปิดร้านขายสร้อย พี่ก็จะมีช่วงเวลาว่างเพราะร้านขายสร้อยพี่อยู่จตุจักรไม่ได้ขายทุกวันจะมี อาทิตย์ละ 2-3 วันทำสร้อยขาย ที่เหลือก็ทำกับข้าวกิน ปลูกต้นไม้เล่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ ดูหนัง พี่ใช้ชีวิตอดิเรกมาก (งานเขียนสะท้อนตัวตนตัวเองเลยหรือเปล่า?) ในเล่มถัดๆ ไปพี่ไม่ได้ยุ่งเรื่องพวกนี้อีก เพียงแต่ในการเซ็ตเล่มแรกพูดเรื่องมายาคติ ก็เลยต้องมีเรื่องมายาคติต่างๆ อยู่ ที่คิดว่าเอามาเล่าเรื่องได้ก็เอามาแค่นั้นเอง 
 
คิดว่ารายละเอียดพวกนี้ให้อะไรนักอ่านนอกจากสื่อเรื่องมายาคติ
 
มัน ไม่ได้เป็นมายาคติอะไรมากแค่มันอยู่ในความสนใจพี่รู้สึกว่าเลือกสิ่งที่ สังคมคิดว่าเก๋ไก๋ดูฉลาดดูฮิปสเตอร์คุณต้องปลูกต้นไม้กินอาหารต่างชาติหมาย ถึงอาหารต่างชาติแนวEthnic คุณต้องฟังเพลงพอฟังเพลงปุ๊ปเพลงที่เจ๋งที่สุดต้องเป็นเพลงคลาสสิคก็เอามา เพื่อที่จะเล่า เราเอามาเพื่อใช้เล่าเท่านั้นเอง 
 
การใช้ภาษาที่ลื่นไหน ภาษาสวยงาม มีศัพท์ต่างๆ มีแนวคิดออกแบบอย่างไร
 
พี่ออกแบบบางอย่าง เหมือนการตั้งชื่อ “เมืองฝันสลาย” หรือ “ห้องที่เต็มไปด้วยทุกอย่าง” อะไรอย่างนี้คือพวกวาทกรรม  พี่พบว่าในช่วงความขัดแย้งสิ่งที่โดดเด่นเป็นสง่าที่สุดอย่างหนึ่งคือวาทกรรม ทั้งสองฝั่ง ไม่ได้พูดถึงฝั่งไหน ทั้งสองฝั่งล้วนมีวาทกรรมมากมาย มันก็เป็นการล้อด้วยเพราะในเล่มจะเจอวาทกรรมแปลกประหลาดเต็มไปหมด พี่ชอบตรงที่หนังสือออกมาแล้ว ไม่มีใครมาถามว่า “เมืองฝันสลาย” คือเมืองไหน คือเป็นอันเข้าใจกัน แล้วเขารู้ได้อย่างไรว่าหมายถึงเมืองไหน 
 
การทำโฆษณามาก่อนถือเป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้ใช้ภาษาได้แบบนี้หรือเปล่า
 
มัน คนละอย่างหมายความว่าแม้แต่ตอนทำงานโฆษณาก็พบว่าบางงานเขียนง่ายกว่างาน บางอย่างแอดรถยนตร์อาจไม่ถูกโฉลกกับพี่เท่าเสื้อยกทรงหรือการเขียนหนังสือ เองก็จะว่าไปมันอาจชำนาญกว่าในการควบคุมบางอย่างให้หดสั้นพี่คิดว่าอย่าง นั้นในการใช้โฆษณาเข้ามาในการเขียนนิยายแต่ถ้าให้ไปเขียนกวีการหดสั้นก็ไร้ สาระด้วยประการทั้งปวงคือไม่ช่วยเลยเหลือหน้ากระดาษแล้วให้เขียนอะไรให้พอใน หนึ่งหน้า งานโฆษณาไม่ได้ช่วยเลย งานโฆษณามีความเป็นกวีน้อยมาก
14425498781442552620l
ในแง่อิทธิพลด้านงานเขียน มีใครเป็นต้นแบบหรือคนที่ชอบอ่านจนส่งผลต่องานของตัวเอง
 
เป็นตับเลยมั้งคะเพราะตอนเด็กจะมีคุณสุวรรณีสุคนธา(สุวรรณีสุคนธ์เที่ยง) คุณพิบูลศักดิ์ และจะมีงานก่อนหน้านั้นจะมีหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง ซึ่งมีพบว่าน่าตื่นเต้นในแง่ที่รู้สึกว่าสามารถใช้ภาษาไทยที่เป็นไทยจริงๆ ในรูปแบบที่มากกว่าไทยทั่วๆ ไป ในยุคของพี่สัก 12-13ปี นักเขียนทุกคนใช้ภาษาดีหมดหลังๆ พี่เขียนหนังสือ มีคนมาถามพี่อ่านอะไรบ้าง พี่ตอบไม่อ่านอะไรเลย อ่านไม่ได้ เพราะบางครั้งภาษาไม่ดีพอแล้วไม่รู้สึกแล้ว ในโลกสมัยใหม่บางทีได้ยินภาษาที่อยู่ในทีวีเองก็เถอะ บางทีเขาก็ใช้ภาษาที่ไม่ดีพอ แล้วพอได้ยินซ้ำๆ ก็แยกไม่ออกว่ามันผิดหรือถูก บางทีมีภาษาไม่ดีที่ไม่ผิดและไม่ถูก เช่น “มีการพบศพคนตาย” คือไม่เคยพบศพคนเป็นอยู่แล้ว 
 
ภาษาในโลกสมัยใหม่เป็นอย่างไร
 
พี่ พบว่าคนเล่นกับการเล่นภาษามากขึ้นดูเหมือนเขาสนุกกับการใช้ภาษา”ความรักก็ เช่นกัน”ใส่แฮชแท็กดูเหมือนคนให้ความสำคัญกับภาษาแต่ไม่ใช่ภาษาดั้งเดิม จริงๆถ้าภาษามันดั้งเดิมก็ตายแล้ว แต่บางอย่างมันไม่ถูกไม่ผิดมากกว่า อันนี้คือที่ไม่ชอบมากกว่าการเล่นภาษา
 
ตัวละครส่วนหนึ่งมีภูมิหลังเกี่ยวข้องกับการเมือง ตรงนี้แฝงความหมายเป็นพิเศษหรือเปล่า
 
ต้องการสื่อแค่บางจุด อย่างตอนเป็นหนุ่มเป็นซ้ายตอนแก่เป็นขวาจัดเท่านั้นเอง เพื่อยังเล่าเรื่องเดิมอยู่คือเรื่องมายาคติแม้แต่คนที่ทิ้งผู้หญิงคนหนึ่งไปเพราะว่า “เธอขวางกั้นฉันไว้จากมวลชน” พอตอนแก่ก็กลายเป็นอำนาจนิยมอนุรักษ์นิยมปกติไป 
 
เนื้อเรื่องในหนังสือมีรายละเอียดความขัดแย้งหลายระดับ สื่ออะไรเป็นพิเศษด้วยหรือเปล่า 
 
…คือจริงๆ แล้ว เราขัดแย้งขนาดนั้นจริงๆ หรือ หรือว่าเราคิดว่าว่าเราขัดแย้งกันถึงที่สุดแล้ว ก็ยังพบอยู่ว่าแต่ละฝั่งก็ต้องการเกือบๆ จะอย่างเดียวกัน แต่เพียงคนละกลุ่มคนละพวกแค่นั้นเอง แต่คุณก็ต่างตะโกนเป้าหมายเหมือนกัน แล้วนี่เรากำลังทำอะไรกันนี่ แทบจะบีบคอตายรายวัน เกิดอะไรขึ้นกับสังคมนี้ กับการที่เราเคยเรื่องง่ายๆเรื่องละคร ตอนนี้อย่าว่าแต่ละครเลย คำเดียวก็ไม่ได้ 
 
ผลงานที่ออกมาจะมีส่วนทำให้คนตระหนักหรือเห็นอะไรกระจ่างขึ้น
 
อาจเชื่อแปลกนิดนึง เชื่อว่าคนเราเรียนรู้สิ่งต่างๆ ผ่านเรื่องเล็กๆ ผ่านเรื่องที่ไม่สำคัญ แล้วถ้าเข้าใจได้ก็เข้าใจสิ่งใหญ่ๆได้คุณจะบอกว่าการเมืองเป็นเรื่องยากก็เปล่า คุยกันที่ตลาดนี่แหละมันยากที่ไหนมันก็ง่ายพอๆ กับละครหลังข่าว พอๆ กับเวลาที่นั่งพูดว่าถ้าซื้อของ 5 บาท แกต้องตราชั่งตรงนะ ห้ามโกงตราชั่งนะ มันก็เหมือนกัน ความรัก ความเกลียด ฯลฯ มันใช้สามัญสำนึก พี่ถึงเลือกเล่าในเรื่องง่ายๆออกจะเป็นเรื่องรักน้ำเน่ามาตรฐานแบบที่ดูเป็นล้านครั้งแล้ว คำถามก็มีอยู่เหมือนกันคือเมื่อดูเป็นล้านครั้งแล้ว วันนี้ต่อเรื่องการเมืองถึงเดินมาถึงจุดนี้ แฮชแท็ก “ได้อย่างไร” 
 
ยังพบว่าสามัญสำนึกเป็นสิ่งจำเป็น เวลาที่โต้แย้งเราลืมเรื่องง่ายๆอย่างกินอิ่ม นอนหลับ เราลืมเรื่องที่คนทุกคนมีความฝันเท่าๆกัน ลืมเรื่องเล็กๆน้อยๆ
 
ถ้าอย่างนั้น สามัญสำนึกของคนเวลานี้มีปัญหาหรือเปล่า
 
เห็น ว่ามีปัญหาเรื่องการเมืองนี่แหละเรื่องอื่นๆก็ยังปกติอยู่นะปกติจนแปลกใจว่า เฮ้ยเรื่องอื่นๆคุณมีสามัญสำนึกค่อนข้างถูกต้องแต่พอมาถึงเรื่องการเมือง พวกคุณคุยกันไม่รู้เรื่อง สูญเสียสามัญสำนึกในเรื่องปกติที่พูดกันคำเดียวก็รู้เรื่องอย่างนั้น
14425498781442552611l
องค์ประกอบที่พูดถึงในหนังสือทั้งเรื่องรักน้ำเน่า เรื่องเหนือธรรมชาติ การรับอิทธิพลจากตะวันตก ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคม องค์ประกอบเหล่านี้คือตัวแทนของ “ความเป็นไทย” หรือเปล่า
 
พี่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญความเป็นไทยเลยไม่อาจตอบได้ แต่ตัวเองแค่หยิบองค์ประกอบที่มันเล่ามาได้แค่นั้นเอง อย่างเช่นเรื่องผีสาง “นวลผู้ซึ่งถูกกระทำจากปอป ในจินตนาการของผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน” มาสู่ “นวลผู้ซึ่งไม่ยอมให้มายาคติหลอกอีกแล้ว” นวลก็เลยมีผัว 3 คน คือเล่าเรื่องได้ ถ้าถามว่าตั้งใจเลือกไหม ก็ไม่ได้ตั้งใจ มีหมอผีเขมรด้วย คิดว่ามองที่เรื่องพื้นฐานทางสังคมมากกว่า ตอนทำงานไม่ได้มองเรื่องความเป็นไทย ไม่ได้เจาะจงขนาดนั้น แต่มีหลายอย่างที่อยากเล่าก็เล่าไม่ออกด้วยเหตุผลง่ายๆว่าเรื่องมันพาไป คือเรื่องมันต้องพาไปที่ไหนสักแห่ง บางครั้งเวลาที่เซ็ตตัวละครขึ้นมาก็ต้องปล่อยเขา แม้แต่ตอนเขาตายก็ไม่อาจบอกได้ชัดว่าเขาตาย แต่บอกว่าเขาหายไป เพราะมันไม่สมเหตุสมผลทางความรู้สึก 
 
มีตัวละครที่มีมุมมองต่อความสัมพันธ์ “ความรัก” กับ “กามารมณ์” จริงๆ แล้วจะสื่อความสัมพันธ์ระหว่างรักกับกามารมณ์อย่างไร 
 
…พี่ หมายความว่ามันเป็นเรื่องเดียวกันและจริงๆแล้วก็หมายความว่าอาจเป็นคนละ เรื่องเดียวกันก็อาจเป็นต่างกรรมต่างวาระคุณไม่สามารถกำหนดได้ว่ารักกับ กามารมณ์แยกกันเช่นคุณมีแฟนมีคนรักมันก็เรื่องเดียวกันกับคนที่ไม่ใช่แฟนและ ไม่ใช่คนรักมันก็เป็นคนละเรื่องเดียวกัน เห็นไหม มายาคติคือแบบนี้ ต่างกรรม ต่างวาระ ต่างคน ต่างสถานที่ คำจำกัดความมันก็เปลี่ยนไป 
 
…อาวุธที่เหลือคือสามัญสำนึก ที่เป็นคนบอกว่าอันนี้ความรักหรือกามารมณ์ เราต่างอยู่ท่ามกลางสิ่งต่างๆที่เยอะมาก พี่ไม่ได้มองว่าแค่สังคมไทย แต่โลกมันก็เป็นอย่างนั้น จริงๆความขัดแย้งในเรื่องก็เป็นความขัดแย้งในโลกนี้ด้วย โลกต่างก็ไขว้เขวไปท่ามกลางข้อมูลแบบต่างๆ ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร แม้แต่ฝรั่งเองก็เถอะ 
 
นิยามพล็อตที่เขียนว่า “ความรักแบบน้ำเน่า” มองคำว่า “น้ำเน่า” อย่างไร 
 
ซ้ำซาก คุณวาดรูปมีใบไม้ร่วง ท้องฟ้าเทา ลมหนาว คนอ่านก็เริ่ม “โอ๊ย เหงาจังเลย”  มันคือมายาคติที่จัดการคุณได้โดยไม่รู้ว่าทำงานอย่างไรด้วยซ้ำ แต่ซีนนี้เห็นจากหนังเมื่อ 30 ปีก่อน และเห็นซีนเดียวกันต่างกรรม ต่างวาระ ใช้วิธีการเดียวกัน คุณก็ถูกครอบไปโดยความรู้สึกที่ถูกครอบไว้แล้ว มายาคติทำงานแบบนี้ ในที่สุดก็วนกลับไปที่เก่าเหมือนไส้เดือนที่ตาบอด คุณก็ไม่รู้ก็ขุดของคุณไปเรื่อยๆ
 
ทำไมสังคมหลุดออกจากความซ้ำซากนี้ไม่ได้
 
คุณลืมสามัญสำนึก ลืมว่าจริงๆแล้วต้องการอะไร จริงๆแล้วอาจต้องการคนอย่างปราณ น่าเบื่อมาก จริงๆแล้วไม่ได้ทำอะไรเลยคือเดินไปมา ลืมตา หลับตา กิน แค่นั้น แต่คุณก็หาชีวิตรักซึ่งโลดโผน อย่างคุณนทีที่มีพบ พลัดพราก แต่จริงๆคุณอาจแค่อยากได้ใครสักคน 
 
ความน้ำเน่าไม่มีทางหลุดออกจากโศกนาฎกรรมเรื่องรัก สภาพการเงิน สถานะทางสังคม ?
 
โลกก็เป็นแบบนี้แหละ หมายถึงว่าในฐานะคนทำโฆษณาจะบอกว่า คนสนใจโศกนาฎกรรม โฆษณาทำให้คุณกลัวไม่มากก็น้อย กลัวไม่มีบ้าน ไม่มีรถ ไม่มีเมีย เดี๋ยวตาย อ่ะ ทำประกัน ฝากเงิน ซื้อโทรศัพท์กลัวไม่มีเพื่อน ต่ออินเทอร์เน็ตสิเดี๋ยวไม่ทันโลก จริงๆแล้วสิ่งที่คุณกลัวมากที่สุดคือโศกนาฎกรรม กลัวไม่มีกิน ไม่มีคนรัก กลัวลูกตายก่อน เมื่อมองย้อนกลับไป เราเคยกลัวขนาดนี้ไหม เราไม่เคยต้องกลัวจนต้องใส่แบรนด์เนม กลัวไม่มีบ้าน ไม่มีรถ 
 
คาดหวังให้คนอ่านนิยายเล่มนี้หลุดจากโศกนาฎกรรมนี้ได้อย่างไร 
 
พี่ ไม่หวังแค่บอกว่ามันมีมายาคติอยู่แล้วเป็นเรื่องของคนอ่านว่าจะจัดการกับ มายาคติในชีวิตอย่างไรหรือถ้าจัดการได้ไม่มากก็ขอให้รู้ว่าตัวเองต้องการ อะไรบางครั้งเรื่องเศร้าของมายาคติไม่ได้มีมากหรอกไม่ได้ทำให้แย่กว่าที่มี แต่มันทำให้เราลืมว่าเราอยากได้อะไร เราเคยเป็นใคร ในชีวิตพี่ พี่โชคดีอย่างหนึ่ง คือมีช่วงที่พี่ไม่เหลืออะไรเลยอยู่บ้างในชั่วขณะเล็กๆ พี่ก็นึกเอ๊ะฉันมีลูกมีสามีมีต้นไม้มีแมว 3 ตัว แล้วมันก็งอแงและรักฉันมาก นี่ถือเป็นความโชคดีของพี่นะ ที่แว่บหนึ่งมายาคติทิ้งพี่ แล้วพี่รู้ว่าทันทีที่พี่ไม่มีอะไร พี่ถึงรู้ว่ามีอะไร นับขึ้นมาแล้วมันเยอะ มันหาค่าไม่ได้ นับมาฉันก็เป็นคนที่หลงใหลสีสัน ซึ่งมีโน่นมีนี่ พี่โชคดีตรงนั้น
 
เป้าหมายการเขียนในมุมส่วนตัวคืออะไร 
 
พี่คิดว่าเขียนเพราะมีเรื่องจะเล่าร่ำรวยคงไม่ได้หรอกอาชีพนี้ถูกตราหน้าว่าไส้แห้งมา2ศตวรรษ พี่ยอมรับสภาพว่ายากจะเป็นคนมั่งมีจากการเขียน เมื่อเล่มนี้ออกมาและได้รับการต้อนรับในแง่หนึ่ งได้รับการยอมรับในแง่มันมีทัศนะใหม่ในการเขียน ค่อนข้างพอใจตรงจุดนี้พบว่างานเขียนของประเทศนี้มีไม่กี่แบบ อย่างน้อยนี่ก็เป็นอีกแบบ ถ้าหวังจริงๆ หวังเห็นแบบอื่นๆ อีกมากมายจากคนอ่านซึ่งโตขึ้นหรือใครสักคน ส่วนจะถามว่าหวังจะเปลี่ยนแปลงสังคมไหม ไม่มั้ง ถ้ามีเรื่องเล่าก็จะเล่า
 
มองการเข้าชิงซีไรต์ในแง่นักเขียนที่เพิ่งเริ่มต้นอย่างไรบ้าง
 
ถ้า พูดตรงๆรางวัลกับพี่ถ้าต้องคิดเรื่องนี้ต้องคิดตั้งแต่ก่อนเขียนดังนั้นตอน นี้ก็ไม่ได้คิดอะไรเลยเพราะก่อนเขียนก็ไม่ได้คิดว่าเขียนเพื่อเอารางวัล อย่างนั้นนี้ ความจริงวันนี้ก็ค่อนข้างตื่นเต้นว่าอุ๊ยขายได้ด้วยนะ ขายค่อนข้างดีนะในหมวดวรรณกรรม 
 
มีอะไรพูดถึงคนที่อ่านแล้วและยังไม่ได้อ่าน “ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต”
 
คนอ่านแล้วก็อ่านซ้ำนะคะ เพราะรายละเอียดค่อนข้างเยอะ ส่วนคนยังไม่ได้อ่านก็อ่านได้แล้วค่ะเพราะเดี๋ยวต้องอ่านอีก (หัวเราะ)