สุนทรพจน์รอง นรม. สมคิดฯ งานสัมมนา “Thailand : Moving forward to Sustainable Growth”

Deputy Prime Minister Somkid Jatusripitak delivers a speech during a seminar hosted by the Board of Investment of Thailand in Tokyo on Friday. (AFP photo) – Source: Bangkokpost
ร่างคํากล่าวสุนทรพจน์งานสัมมนา “Thailand : Moving forward to Sustainable Growth”
ในหัวข้อ “Thailand’s New Economic Policies”
โดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี
ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
27 พฤศจิกายน 2015
(30 นาที)
***************************
Mr. Hiroyuki Ishige (มิสเตอร์ ฮิโรยูกิ อิชิเกะ) ประธาน JETRO
Mr. Akira Murakoshi (มิสเตอร์ อาคิระ มูราโคขิ) ประธานหอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ
ท่านรัฐมนตรี ท่านเอกอัครราชทูตไทย
และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
ในนามของรัฐบาลไทย ผมขอขอบพระคุณท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ที่ได้ให้ความสนใจและเข้ามาร่วมงานในวันนี้ ในอดีตผมมีโอกาสเดินทางมาญี่ปุ่นหลายครั้ง แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ผมมาอย่างเป็นทางการในฐานะของรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดปัจจุบัน และเลือกที่จะมาญี่ปุ่นเป็นลําดับแรก เพราะความสัมพันธ์ที่มีมาช้านานและด้วยสัมพันธภาพทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งและแนบแน่นตลอดมา
ท่านผู้มีเกียรติครับ ในหลายปีมานี้ เศรษฐกิจโลกมีความผันผวนสูงและมีแนวโน้มที่ชะลอตัว ประเทศใหญ่ที่มีพลังทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา อียู และญี่ปุ่น ต่างก็เผชิญกับปัญหาความซบเซาทางเศรษฐกิจ แม้กระทั่งจีน ประเทศที่ได้ชื่อว่าเศรษฐกิจไม่เคยถดถอยใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ก็หาได้รอดพ้นไม่
ประเทศไทยก็เช่นกัน ด้วยความจริงที่ว่า เราเป็นประเทศที่เน้น export-led economy ด้วยสัดส่วนการส่งออกต่อ GDP เกือบ 70% อีกทั้งต้องเผชิญกับภาวะที่ราคาสินค้าเกษตรทั่วโลกกําลังตกตํ่า และด้วยความจริงที่ว่า ในหลายปี ที่ผ่านมา การเมืองในประเทศมีความผันผวน จนกระทั่งนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ในช่วงปีเศษที่ผ่านมา ภาวะเศรษฐกิจไทยในภาพรวม จึงค่อนข้างซบเซาและชะลอตัว
อย่างไรก็ดี ด้วยความมุ่งมั่นของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีและรัฐบาล และด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายในสังคม การเมืองไทยได้กลับมาสู่ภาวะปกติอีกครั้ง บ้านเมืองสงบสุข ธุรกิจก้าวเดินไปข้างหน้า การท่องเที่ยวขยายตัวอย่างไม่เคยปรากฏ ด้วยจํานวนนักท่องเที่ยวถึง 30 ล้านคนต่อปี ในทางการเมือง คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญกําลังเร่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่สอดรับกับการพัฒนาประเทศในระยะยาว ท่านนายกรัฐมนตรีได้กําหนด road map ที่ชัดเจน ว่าประเทศจะต้องพร้อมมีการเลือกตั้งใหม่ในกลางปี 2017 หรืออีกปีครึ่งนับจากนี้ไป
ในด้านเศรษฐกิจ แม้เศรษฐกิจโลกจะซบเซาและการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบก็ตาม แต่ฐานะเศรษฐกิจในภาพรวม ยังแข็งแกร่งอยู่มาก ไทยมีเงินทุนสํารองเงินตราต่างประเทศถึง $157billion ในขณะที่มีหนี้สินต่างประเทศระยะสั้นเพียง $55 billion และมีระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP เพียง 43% ในขณะที่มีเงินเฟ้อตํ่า และอัตราว่างงานเพียง 0.9% ถึงแม้การเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้จะชะลอตัว แต่ด้วยผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลได้ออกไปในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ไม่ว่าจะด้วยการเร่งอัดฉีดบประมาณและสินเชื่อลงสู่ท้องถิ่น ทั้งในระดับตําบลและระดับหมู่บ้านในโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ ไม่ว่าจะด้วยการจัดหาสินเชื่อต้นทุนตํ่า และลดภาษีเพื่อลดภาระแก่ SME ที่ขาดแคลนเงินทุนและขาดสภาพคล่อง ไม่ว่าจะด้วยการออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ที่เป็นอุตสาหกรรมสําคัญและมีผลต่อเนื่องสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่อง ในที่สุดความมั่นใจทั้งในด้านของผู้บริโภคและในภาคอุตสาหกรรมได้เริ่มกลับมาอีกครั้ง จากการสํารวจของสถาบันต่าง ๆ และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ที่ผ่านมาก็เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีอัตราการเติบโต 2.9% เทียบกับ 0.9% ในไตรมาส 3 ปี ที่แล้ว และมีแนวโน้มที่จะดีขึ้นในไตรมาส 4 และต้นปีหน้า โดยคาดว่าจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 3% ในปีนี้ และ 3.5 –4% ในปีหน้า
ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ การเติบโตในระยะสั้น ไม่ใช่เป้าหมายที่สําคัญ แต่ที่สําคัญกว่าคือการเติบโตอย่างมีคุณภาพ อย่างยั่งยืน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างจริงจัง เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อให้โครงสร้างเศรษฐกิจไทยสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต
ในประการแรก ประเทศไทยต้องการพัฒนาสู่ระบบเศรษฐกิจที่มีการเติบโตอย่างสมดุล ไทยต้องการสร้างสิ่งที่เรียกว่า การเติบโตจากภายในควบคู่ไปกับการเน้นการส่งออกดังเช่นในอดีต นั่นหมายถึงการให้นํ้าหนักกับการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็ นการปฏิรูปเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต productivity และเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร การสร้างและพัฒนาการท่องเที่ยวท้องถิ่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน การสร้างความเข้มแข็งแก่ SME และวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นกลไกเศรษฐกิจหลักในท้องถิ่น ที่ไม่เพียงสร้างรายได้แต่ยังเอื้อให้มีการลดช่องว่างและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคประเทศไทยต้องเรียนรู้และแสวงหาการสนับสนุนจากญี่ปุ่น ซึ่งมีความเข้มแข็งเป็นอย่างยิ่งในด้านนี้
ประการที่สอง ไทยต้องการเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต จากการรับจ้างผลิตสินค้า ต้นทุนตํ่า ใช้แรงงานราคาถูก สู่การผลิตที่เน้นนวัตกรรม เน้นคุณภาพ เน้นวิทยาการ เพื่อสร้างมูลค่า (Value Added) และความสามารถในการแข่งขัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลได้อนุมัติให้มีการกําหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 กลุ่มที่จะให้เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต โดยที่ 5 กลุ่มแรก เป็นการต่อยอดอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้ว และเคยสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในอดีต แต่ให้มุ่งเน้นในการเพิ่มความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีให้มากขึ้น อาทิ กลุ่มยานยนต์ ให้เป็นยานยนต์แห่งอนาคตที่เน้นเทคโนโลยีระดับสูงและรักษาสิ่งแวดล้อม กลุ่มอิเลคทรอนิกส์ ให้เน้นการเป็ น smart electronics เพื่อดักหน้าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอนาคต
ในด้านการเกษตร ให้เน้นการแปรรูปในระดับสูงและ biotechnology การเน้นการสร้างอุตสาหกรรมอาหารที่เป็นอาหารแห่งอนาคตและเน้นทางด้านสุขภาพ หรือแม้แต่การท่องเที่ยว ก็ต้องการพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ที่พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่เน้นคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และการรักษาสิ่งแวดล้อม ในขณะที่มีการต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมเหล่านี้ ประเทศไทยได้กําหนดกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ ที่ไทยกําหนดให้เป็ น S-curve ตัวใหม่ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต อาทิ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ่นยนต์อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมด้านการบินและ logistics ในทุกมิติ เพื่อรองรับ connectivity และการเติบโตทางการค้าและลงทุนใน AEC และ Asia อุตสาหกรรม Digital โดยเฉพาะด้าน IT และ Internet ที่กําลังแพร่และขยายตัวอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมประเภท bioindustries โดยเฉพาะ biofuels และ biochemicals ซึ่งใช้ภาคเกษตรเป็นพื ้นฐานที่สําคัญ และที่ขาดไม่ได้คืออุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพครบวงจร ซึ่งประเทศไทยมีความมุ่งมั่นที่จะเป็น Medical Hub แห่งภูมิภาค
ท่านผู้มีเกียรติครับ การที่จะสร้างและพัฒนาอุตสาหกรรมเหล่านี้ให้เติบโตและเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืนนั้น ประการหนึ่ง คือการใช้แนวคิดการสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อพัฒนา cluster เฉพาะอย่าง ซึ่งไม่เพียงแต่ให้มีการส่งเสริมผู้ผลิต แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ที่จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างจริงจัง อาทิ การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสถาบันวิจัย การดึงดูดนักวิจัย การส่งเสริมบทบาทของมหาวิทยาลัย การดึงนักลงทุนชั้นนําจากต่างประเทศ ตลอดจนการสร้างสิ่งอํานวยความสะดวก และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานระดับสากล ที่จะเกื้อหนุนให้มีความเป็นเลิศในอุตสาหกรรมเป้าหมาย รัฐบาลได้อนุมัติให้มีการขยายเขตเศรษฐกิจพิเศษ จากเดิมที่เน้นพื้นที่แหลมฉบังและมาบตาพุด ให้มีการขยายออกสู่จังหวัดใกล้เคียงรวม 7 จังหวัด และอีก 2 จังหวัดพิเศษ คือที่เชียงใหม่และภูเก็ต สําหรับอุตสาหกรรม Digital โดยเฉพาะ โดยเรียกรวมว่า super cluster อีกทั้งได้อนุมัติให้ BOI ให้สิทธิจูงใจในระดับสูงสุดเพื่อการนี้ นอกจากนี้ รัฐบาลยังจะจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อการส่งเสริมการลงทุนใหม่นี ้ โดยมอบให้ผมเป็นประธานในการสรรหากลุ่มธุรกิจเป้าหมาย การกําหนดสิ่งจูงใจ ตลอดจนเจรจาและชักชวนให้ธุรกิจที่มีความโดดเด่นในอุตสาหกรรมเป้าหมายเหล่านี้มาลงทุน แน่นอนที่สุด กลุ่มธุรกิจจากญี่ปุ่นคือเป้าหมายสําคัญที่ผมต้องการพูดคุยและชักชวนให้มาร่วมกับเรา สําหรับอุตสาหกรรมอื่น ๆ เราก็มิได้ละทิ้ง BOI ยังคงให้สิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมและจัดเขตเศรษฐกิจพิเศษที่เหมาะสมต่อไปสําหรับในรายละเอียดนั้น ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและเลขาธิการ BOI จะรายงานให้ท่านทั้งหลายได้ทราบในลําดับต่อไป
การตัดสินใจเชิงนโยบายที่สําคัญประการที่สาม คือการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่ โดยเฉพาะการคมนาคมและการขนส่งของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ เชื่อมโยงเหนือ-ใต้ และออก-ตก ไปสู่การพัฒนาทวาย เพื่อเชื่อมโยงสู่พม่า การพัฒนาสนามบินที่สุวรรณภูมิ การพัฒนาสนามบินและท่าเรือนํ้าลึกที่อู่ตะเภา เพื่อให้ไทยสามารถก้าวสู่การเป็ ศูนย์กลางการบินและการขนส่งในภูมิภาค เป็นต้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งอนาคตเหล่านี้ รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะให้มีการร่วมมือกับภาคเอกชน ทั้งภายในและจากต่างประเทศ โดยตั้งคณะกรรมการ PPP (Public-PrivatePartnership) ที่มีผมเป็นประธาน และกําลังจัดตั้งกองทุนขนาดใหญ่เพื่อร่วมลงทุนกับภาคเอกชน ซึ่งคาดว่าจะจัดตั้งเสร็จก่อนสิ้นปี นอกจากนี้ ยังได้ออกกฎหมายเพื่ออํานวยความสะดวกในการลงทุน และท่านนายกฯ เองได้ลงมากํากับการขจัดอุปสรรคทางธุรกิจ ที่เรียกว่า Business Easing ด้วยตนเองในทุกขั้นตอนโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้จะเกิดขึ้นในปีหน้าเป็นต้นไป
ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการปฏิรูปเศรษฐกิจที่รัฐบาลไทยกําลังขับเคลื่อน โดยร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน ขณะนี้ท่านนายกฯ ยังมีบัญชาให้ผมและคณะ ให้ผลักดันการปฏิรูปในด้านอื่นๆ ที่จะมีผลอย่างมีนัยสําคัญต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต อาทิ การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ การปฏิรูปทรัพยากรมนุษย์ การปฏิรูปการเงินการคลังของประเทศ การปฏิรูประเบียบกฎเกณฑ์และกฎหมายให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นต้น
ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ เป็นที่เห็นพ้องกันแล้วว่า พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลก กําลังเคลื่อนจากตะวันตกมาสู่ตะวันออก ดังคําว่า Asia Rising ที่ทุกคนกล่าวขวัญ และข้อต่อสําคัญของ Asia Rising ก็คืออาเซียนที่เป็น supply chain ที่สําคัญทางเศรษฐกิจ ข้อเท็จจริงดังกล่าว มีนัยสําคัญอย่างยิ่งยวด ที่สะท้อนโอกาสและศักยภาพของประเทศไทยในอนาคต ในฐานะที่เป็นประเทศซึ่งมีแหล่งที่ตั้งอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สําคัญใจกลางอาเซียน อีกทั้งเป็นศูนย์กลางแห่ง CLMV ที่กําลังเติบโต ผมเชื่อว่า ด้วยศักยภาพดังกล่าว ถ้าไทยมีการปฏิรูปอย่างจริงจัง ซึ่งเรากําลังดําเนินการอยู่ และด้วยการการสนับสนุนจากญี่ปุ่ นทั้งภาครัฐและเอกชน ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงยิ่งในยุคข้างหน้า การร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างไทยและญี่ปุ่น ในช่วงเวลาที่สําคัญเช่นนี้ จะเอื้อประโยชน์อันสูงยิ่ง ไม่เพียงเฉพาะกับประเทศทั้งสอง แต่ยังสามารถเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศเพื่อนบ้านใน CLMV โดยไทยยินดีที่จะเป็นแกนนําสําคัญด้วยการสนับสนุนจากญี่ปุ่น
ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ เศรษฐกิจไทยสามารถก้าวมาสู่จุดนี้ได้ ต้องยอมรับและต้องขอบคุณการสนับสนุนจากญี่ปุ่นทั ้งภาครัฐและเอกชน จากคลื่นการลงทุนลูกแรกเมื่อกว่าสามสิบปีที่แล้ว ทําให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมกับประเทศไทยอย่างมีพลัง และด้วยการลงทุนในคลื่นลูกที่สองที่ผมมีส่วนร่วมในการผลักดันข้อตกลง JTEPA ระหว่างไทยและญี่ปุ่น ที่ก่อให้เกิดคลื่นการลงทุนและการค้าอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มาบัดนี้ ประเทศไทยกําลังก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการปฏิรูป เราหวังอย่างยิ่งที่จะเห็นคลื่นการลงทุนลูกที่สาม จากญี่ปุ่นที่จะมาร่วมกับไทยอีกครั้งหนึ่ง
วันนี้ ประเทศไทยโดยการนําของท่านนายกฯ มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจไทยท่านผู้นําของไทยและท่านผู้นําของญี่ปุ่นได้มีโอกาสพบปะกันที่ ASEAN Summit เมื่อไม่กี่วันมานี้ ก็สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลทั้งสองประเทศ ที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดสู่อนาคต
ผม ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับมอบหมายจากท่านนายกฯ ให้เดินทางมาในครั้งนี้ เพื่อบอกเล่าถึงสถานการณ์ของประเทศ เพื่อเชิญชวนท่านทั้งหลาย ให้มาร่วมกับประเทศไทย ในฐานะนักลงทุนในคลื่นลูกที่สาม มาร่วมกับนักลงทุนไทย มาร่วมกับรัฐบาลไทย ในช่วงจังหวะเวลาอันสําคัญแห่งประวัติศาสตร์ ผมมาด้วยตนเอง และเลือกที่จะมาญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก เพราะต้องการจะบอกต่อท่านว่า ท่านคือนักลงทุนที่ไทยให้ความสําคัญสูงสุด และเพื่อมายืนยันแก่ท่านว่า จะดูแลพวกท่านทั้งหลายอย่างดีที่สุด และที่สําคัญที่สุด คือความต้องการที่จะยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจจากการเป็นคู่ค้า คู่ลงทุนที่ใกล้ชิด สู่การเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่แท้จริง ในยุคที่ AEC กําลังจะเติบใหญ่ และในยุคที่ Asia กําลังผงาด ความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนที่แท้จริงนี้ ผมเชื่ออย่างยิ่งว่าจะยังประโยชน์แก่ประชาชนของทั้งสองประเทศ และยังจะเอื้อประโยชน์ต่อประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้อย่างแน่นอน
ขอบพระคุณครับ