รายการคืนความสุขให้คนในชาติ 29 เมษายน 2559
วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2016 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติเฉพาะกิจออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะ กิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2559 เวลา 20.15 น.
พิธีกร: สวัสดีค่ะ ดิฉันพันเอกหญิง ทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการคืนความสุขให้คนในชาติค่ะ เป็นประจำทุกสัปดาห์นะคะ ที่ท่านนายกรัฐมนตรี จะมาพูดคุย บอกเล่าเรื่องราวสิ่งดี ๆ และความก้าวหน้าในการ บริหารราชการแผ่นดินให้พี่น้องประชาชน ได้ทราบค่ะในเวลานี้ท่านนายกรัฐมนตรีอยู่กับดิฉันแล้ว สวัสดีค่ะท่านนายกฯคะ ท่านนายกฯคะ ในสัปดาห์นี้ มีเรื่องอะไรที่เป็นเรื่อง ที่น่ายินดีของพี่น้องประชาชนชาวไทยบ้างคะ
นายกรัฐมนตรี: สัปดาห์นี้ก็มีหลายเรื่องด้วยกันนะครับ เรื่องแรกก็เมื่อวานนี้วันที่ 28 เมษายน 2559 วันครบรอบวันราชาภิเษกสมรส ครบ 66 ปี / ขอให้ 2 พระองค์ “ทรงพระเจริญ” / แบบอย่างของผู้ครองเรือน นี่ก็เป็นสิ่งสำคัญนะ คิดว่าประชาชนคนไทยก็คงต้องร่วมกันถวายพระพรด้วย
พิธีกร: ทราบว่าปีนี้เป็นปีทองของนักกีฬาไทย และเป็นปีทองของเยาวชนไทยด้วย ทราบว่านักกีฬาของเราทำผลงานดีในต่างประเทศมากมาย ทราบว่าท่านนายกมีเรื่องจะเล่าให้ฟังด้วย ว่าใครประสบความสำเร็จบ้างค่ะ
นายกรัฐมนตรี: คนแรก น้องเมย์ รัชนก รัฐบาลก็ได้นำความกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทาน และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นที่สรรเสริญยิ่ง ดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นทุติยดิเรกคุณาภรณ์ เป็นกรณีพิเศษ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณกับตนเองและครอบครัว ซึ่งจะได้เป็นกำลังใจต่อไปในการมุ่งมั่น ที่จะเอาชนะเลิศในการแข่งขันกีฬา อื่นๆ ในวันหน้านะครับ
เรื่องของการรักษาแชมป์เอเชีย ก็ไม่เป็นไร ผมถือว่า นักกีฬาทุกคนเป็นเพื่อนกัน ใครชนะใครแพ้ก็เป็นเพื่อนกันทั้งหมด แบ่งปันกันบ้าง ก็ขอให้ตั้งอกตั้งใจมีความมุ่งมั่นในการเดินไปข้างหน้าด้วยความมั่นใจการ รักษาแชมป์ผมว่ามันยากกว่าการทำแชมป์นะ ก็อย่าเสียใจ นายกรัฐมนตรีและคนไทยขอเป็นกำลังใจให้เสมอ
คนที่ 2 ก็เป็น“น้องณี” สุธิยา จิวเฉลิมมิตร คว้าแชมป์เวิลด์คัพ ยิงเป้าบิน เป็นคนไทยคนแรกที่ได้แชมป์ประเภทนี้ นอกจากนี้ก็มี เทควันโด ยกน้ำหนัก ได้รับเหรียญรางวัล เหรียญทอง เหรียญเงินบ้าง ทั้งสองอย่าง ได้โควตาไปโอลิมปิคด้วย /ขอเป็นกำลังใจ “ทัพนักกีฬาไทย”ทั้งที่กล่าวถึงและยังไม่ได้กล่าวถึง ทุกคนที่ตั้งอกตั้งใจในการทำชื่อเสียงให้กับประเทศไทย สำหรับที่ผ่านไปแล้วก็ขอให้ ผ่านรอบคัดเลือก ไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ 2016 ประเทศบราซิล นะครับ ก็จะเป็นความสำเร็จของเยาวชนไทยในโอกาสต่อไปด้วย
สำหรับในอีกเรื่องก็จะเป็นเรื่อง ในเวทีประกวดนวัตกรรมนานาชาติครั้งที่ 44 ณ กรุงเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ (1) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2) ทีมนักศึกษาอาชีวะจากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีและวิทยาลัยเทคนิคลำพูน / ได้รับเหรียญรางวัลหลายรายการ/ ผลงานทั้งหมดส่งเข้าระบบบัญชีสิ่งประดิษฐ์ไทย โดยสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) แบบ Fast Track เพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ต่อไป
พิธีกร: ค่ะเยาวชนเหล่านี้ต่อไปก็จะสามารถเติบโตขึ้น เป็นพลังที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศเราได้นะคะ และอีกไม่กี่วันแล้วค่ะก็จะถึงวันแรงงานแล้วค่ะ พี่น้องแรงงานไทยก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญให้กับประเทศไทยเหมือนกันนะ คะ ท่านนายกฯ มีอะไรจะฝากถึงพี่น้องแรงงานไทย
นายกรัฐมนตรี: ขอร่วมเป็นกำลังใจในการทำงานของแรงงานทุกคน ที่ช่วยกันสร้างชาติ และขอให้มีการพัฒนาตนอย่างสม่ำเสมอพัฒนาฝีมือ เพื่อยกระดับให้มีรายได้ที่แตกต่างด้วยฝีมือ มากกว่าใช้แรงงานอย่างเดียว และก็มุ่งสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย เพราะว่าวันนี้เราต้องพัฒนาตัวเองด้วยการเรียนรู้ ก็พยายามปรับปรุงตัวเองให้มากขึ้น จะได้ติดตามวิวัฒนาการ เทคโนโลยีของโลกเพื่อจะได้กำหนดตัวเองว่าเราจะไปอยู่ตรงไหนของโลกในอนาคต
การกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงาน อันนี้ได้ให้กระทรวงแรงงานมีการออกใบรับรองมาตรฐาน 22 สาขาอาชีพ ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมและภาคบริการ ทั้งนี้ต้องเตรียมการในการรับสถานการณ์สังคมสูงวัยในอนาคตด้วยด้วย ซึ่งจะมากขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และเราจะมีการขาดแรงงาน
อีกอันก็คือเราจะต้องเตรียมการไปสู่สังคมเศรษฐกิจที่เรียกว่าไทยแลนด์ 4.0 มีการลงทุน ใช้หุ่นยนต์ ใช้ปัญญาประดิษฐ์ มากมายไปหมด ผมก็พยายามพูดไปหลายครั้งแล้วนะครับ
สิ่งที่สิ่งที่อยากจะเรียนก็คือว่ารัฐบาลดำเนินการ หลายอย่าง
(1) อันแรกคือ ได้จัดทำแอปพลิเคชั่นด้านแรงงานให้การบริการ SMART LABOUR
(2) ศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทย Smart job center หรือ Smart job mobile แอพพลิเคชั่นบนมือถือ
(3) การส่งเสริมแรงงานคนพิการ ให้โอกาสทุกคนเท่าเทียมกัน
(4) การจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ
พิธีกร: ในช่วงนี้ประเทศเราก้าวเข้าสู่ AEC แล้วค่ะ ในเรื่องของแรงงานต่างด้าวรัฐบาลมีการดำเนินการอย่างไรในเรื่องนี้บ้างคะ
นายกรัฐมนตรี: แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ เป็นหลักก็คือ (เมียนมา ลาว และกัมพูชา) และอีกหลายประเทศที่ดำเนินการอยู่ เวียดนามก็มี กำลังดำเนินการเดินหน้าในเรื่องนี้อยู่ ได้มีการขึ้นทะเบียน one stop service ของเรา ที่ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว กว่า 1.6 ล้านคน รวมครอบครัว มีประเทศไทยใจดี (มีครอบครัวผู้ติดตาม ประมาณอีก 1 แสนคน)
ขั้นตอนต่อไปประเทศต้นทางแรงงานต่างด้าว ต้องมีการตรวจสอบ + มีการรับรองสัญชาติ ซึ่งที่ผ่านมานั้นไม่ได้รับรองมาตั้งแต่ต้น ต้องจัดชุดมาพิสูจน์สัญชาติในประเทศไทยซึ่งช้า ก็ได้มีการต่อทะเบียนไปเรื่อยๆ ต่อใบอนุญาตไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นปัญหาหลายเรื่องด้วยกัน พวกที่ยังไม่ได้เป็นการถาวร ยังพิสูจน์สัญชาติไม่ได้ เหล่านี้ก็ต้องมีการเคลื่อนย้ายไปที่โน่นที่นี่ มันอาจจะผิดกฎหมาย ต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย ก็อาจจะมีการเรียกรับผลประโยชน์นะ
ต้องเรียนว่า คนไทยเราไม่ค่อยนิยมการใช้แรงงาน ก็ไม่เป็นไร แต่ก็น่าจะนำไปสู่การเป็นหัวหน้าเขาให้ได้ และเราต้องพึ่งพากันและกันอยู่แล้ว แรงงานต่างชาติของเราก็ต้องดูแลซึ่งกันและกัน
(1) ด้านเศรษฐกิจ เราต้องแก้ปัญหาว่าวันนี้เราก็ขาดแรงงานจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาคการผลิตและบริการ
(2) ด้านความมั่นคงการค้ามนุษย์ + ยาเสพติด ก็เกี่ยวข้องมาด้วยเพราะว่าก็ยังมีตนที่แสวงหาผลประโยชน์ตรงนี้ ผมก็ให้นโยบายว่า ก่อนจะเข้ามาประเทศไทยก็ให้ประเทศต้นทางเค้าได้มีการรับรองสัญชาติมาก่อนได้ หรือไม่ จะได้ไม่ต้องตามมาตรวจทีหลังแบบนี้ ของเก่าก็ยังค้างหลายแสนคน ก็ยังค้าง ๆ อยู่ แต่ก็มีบัตรชั่วคราวใช่ไหม ทีนี้ถ้ามันควบคุมไม่ได้ อันนี้อันตราย
(3) ยาเสพติดบ้าง สังคม อาชญากรรม ด้านสวัสดิการสังคม ก็เป็นภาระเพราะว่าเป็นแรงงานที่ไม่ได้ระบุไว้ ก็ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้น จากที่เคยประมาณการไว้นั้นคือปัญหาของเรา
พิธีกร: เหตุผลหนึ่งของการเข้ามาบริหารประเทศของรัฐบาลและ คสช. คือการสร้างความมั่นคงและการปฏิรูปประเทศท่านนายกฯ มีวาระในการดำเนินงานอย่างไร เพราะว่าในการปฏิรูปบางเรื่องไม่ได้สั้น หรือทำง่าย หรือเสร็จสิ้นภายในปีสองปี ท่านนายกฯ วางแผนเรื่องนี้อย่างไรบ้างคะ
นายกรัฐมนตรี: ตั้งแต่เข้ามา ผมได้เรียนไปแล้วว่าผมมีโรดแมปของผม ก็คิดว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร อันที่ 1. คือขจัดความขัดแย้ง แก้ปัญหาเดิม ๆ ที่มันซ้ำซ้อนกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหา ไอเคโอ้ ไอยูยู ประมง อะไรเหล่านี้ คิดก็แก้ไปด้วย ขณะเดียวกัน ต้องมีการบริหารราชการแผ่นดินในเชิงบูรณาการ คือว่าเอากลุ่มงานที่มันเกี่ยวข้องหลายกระทรวง หลายหน่วยงานมาทำพร้อมกัน ก็ทำมาตลอดจนถึงวันนี้ ก็เป็นงานที่หนักพอสมควร แต่ไม่เป็นไร
คราวนี้เราก็มามองว่า สมมติว่าเราอยู่ตามโรดแมปคือสองปีโดยประมาณถึงปี 60
ระยะที่ 1 เราจะสิ้นสุดปฏิรูปคือ กรกฎาคม 2560 ตามโรดแมป
จากนั้น รัฐบาลใหม่ เราก็จะวางพื้นฐานไว้ให้ คือยุทธศาสตร์ชาติ 60-79 20 ปีเพราะเรามุ่งถึงอนาคตเยาวชนอายุ 20 วันโน้นเราต้องมีเยาวชนคนรุ่นใหม่ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 ก็จะเริ่ม 60-64 จะเริ่มปฏิบัติตั้งแต่ ต.ค. 59
พิธีกร: สำหรับประชาชนเองจะต้องร่วมมือกับรัฐบาลด้วย เตรียมตัวเพื่อที่จะเป็นคนรุ่นใหม่ที่จะก้าวไปพร้อมกับแผนปฏิรูปของรัฐบาล และเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าได้ก็ต้องมีการร่วมมือกันทั้งสามเสาหลัก คือ ความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา ตอนนี้ด้านความมั่นคง ท่านนายกฯ อยากจะเล่ามั้ยคะว่า มีเรื่องอะไรที่รัฐบาลได้ทำสำเร็จไปแล้วบ้าง เพื่อให้ประชาชน ได้เตรียมที่จะก้าวพร้อม ไปกับรัฐบาล
นายกรัฐมนตรี: นอกจาก 3 ด้านแล้ว ผมอยากให้เพิ่มด้านการต่างประเทศไปด้วย เพราะจะมีส่วนในการสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือกับต่างประเทศไปด้วย เป็นด้านสาขาของเศรษฐกิจไง ความมั่นคงต้องร่วมมือในทุกมิติอยู่แล้ว ผมจึงให้ความสำคัญในด้านต่างประเทศด้วย จริง ๆ แล้วสำคัญทุกอัน มากกว่านี้อีก ก็ทำทุกเรื่อง
ศูนย์ดำรงธรรม ที่ตั้งมาแล้วเราให้บริการมากกว่า 2 ล้าน 6 แสนเรื่อง / เสร็จร้อยละ 97
การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด “เชิงรุก” ด้วยแผนปฏิบัติการแม่โขงปลอดภัยระยะเวลา 3 ปี (2559-2561)ร่วมกับชาติพันธมิตร 5ประเทศ (เมียนมาร์ + ลาว + กัมพูชา + เวียดนาม + จีน) ทำลายตั้งแต่แหล่งผลิต / ตัดวงจรสารตั้งต้น / ตัดเส้นทางลำเลียง ฯลฯ ในส่วนของประชาชนก็ต้อง ป้องกัน ป้องปราม ฟื้นฟู ให้เขารักตัวเอง อย่าไปเสพเลย ยาเสพติดไม่เกิดประโยชน์ สุขภาพก็แย่ เงินทองก็หมดไปไม่เป็นประโยชน์
อื่นๆ ได้แก่
(1) เรื่องของการปฏิรูปกองทัพ + ตำรวจ ทหาร หรืออะไรก็แล้วแต่ ความจริงเขาก็มีแผนอยู่แล้ว จะ 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปี ซึ่งอยู่ในแผนของฝ่ายความมั่นคงเค้า วันหลังจะนำเรียนให้ทราบต่อไป
(2) เรื่องของการปรับกำลัง ปรับหน่วยงาน ให้เกิดการบูรณาการมากขึ้น กองทัพเข้มแข็ง มีขนาดเล็กลง ก็ต้องมีพัฒนาการในเรื่องของเทคโนโลยีการใช้ยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย ถึงจะลดคนได้ และอย่างที่เรียนไปแล้วว่า บางครั้งเรามองอย่างต่างประเทศ อาจจะยังไม่ค่อยได้มากนัก เพราะว่าเรายังมีปัญหาเรื่องความขัดแย้งด้วยอะไรด้วย และเครื่องมือก็ราคาแพง วันนี้เรายังซื้อไม่ได้หลายอย่าง เมื่อซื้อไม่ได้ก็ต้องใช้คน ใช้ตา ใช้มือ ใช้แรงใจ แรงกายของทุกคน ช่วยกันทุ่มเท ให้ประเทศ
เพราะฉะนั้นเรื่องการปฏิรูปกองทัพ และตำรวจ อย่ากังวลผมเข้าใจดี เราต้องไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน ถ้าไม่มีทหาร ไม่มีตำรวจเลยคงอยู่ไม่ได้ ทุกประเทศในโลกอยู่ไม่ได้หมด เขามีทหารทั้งหมด ต้องเข้มแข็ง ไม่ได้มีไว้เพื่อรบ มีไว้เพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ และดูแลเรื่องเศรษฐกิจ จะได้มีน้ำหนักมากขึ้น
เรื่องสำคัญอีกเรื่องคือการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เราได้มีการตั้งคณะพูดคุยสันติภาพ มีการพูดคุยมาหลายครั้งแล้ว ก็มีความก้าวหน้า ตามลำดับ คราวนี้ไม่อยากใช้สิ่งเหล่านี้มาเป็นตัวกำหนดว่าจะเสร็จเมื่อไหร่อย่างไร ก็อยากจะขอให้เข้าใจด้วยไม่ว่าจะสื่อหรือประชาชน เราทำไมจะไม่อยากให้มันจบ เพราะเราเสียดายชีวิตพ่อแม่พี่น้องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งคนไทยพุทธ ไทยมุสลิม แล้วก็เจ้าหน้าที่ทุกคนมีครอบครัว มีลูกหลาน ก็ไม่อยากให้ใครบาดเจ็บสูญเสียทั้งสิ้น เสียเวลา เสียโอกาส เสียเวลามากมาย ทหารก็ได้กลับบ้าน เหลือแต่ทหารในพื้นที่ได้ไหม ถ้ามันสงบลงแล้ว ก็เหมือนจังหวัดอื่น ๆ เราต้องเอากำลังไปเติม เพราะดูแลไม่ทั่วถึง ขอร้องแล้วกัน ฝากไปพวกที่ก่อเหตุต่าง ๆ ขอให้เลิก เรากลับมาเป็นคนไทย ร่วมกันพัฒนาชาติไทยด้วยกันดีกว่า เราจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ โอกาสของภาคใต้มากมาย
พิธีกร: ค่ะ เรามองเห็นภาพของความมั่นคงแล้วเป็นภาพกว้าง เมื่อขยับเข้ามาหน่อย ก็จะเป็นมิติของทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ท่านนายกค่ะ ความคืบหน้าทางด้านเศรษฐกิจที่ทางรัฐบาลได้ทำหรือไม่ค่ะ ในช่วงนี้มีอะไรที่จะบอกเล่าให้ฟังสู้พี่น้องประชาชนบ้างค่ะ
นายกรัฐมนตรี: จริง ๆ ด้านเศรษฐกิจเราต้องสร้างความเข้มแข็ง มีอยู่ 2 ประการเป็นคำที่อาจจะต้องให้ความเข้าใจและก็คุ้นเคย อันแรกก็คือความเข้มแข็งของประเทศ อันที่สองคือการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เหล่านี้เป็นเครื่องจักรของประเทศเราที่จะทำให้เรากินดีอยู่ดีมีการลงทุนมี การประกอบการ ทุกคนมีอาชีพ มีรายได้ที่เพียงพอเหมาะสม เพราะฉะนั้นในเรื่องของ…แรก เรื่องแรกของการจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นก็ต้องรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน ประเทศให้ได้ สร้างความมีเสถียรภาพเพื่อจะเรียกกลับความเชื่อมั่นฟื้นฟูเศรษฐกิจ จากสถานการณ์ความไม่สงบทั้งหมดในประเทศภายในช่วงที่ผ่านมาหลายปีมาแล้ว แล้วก็ก่อนปี 57 วันนี้หลายอย่างดีขึ้น ต้องขอขอบคุณทุกคน ประชาชนทุกคน ทุกพวกทุกฝ่าย หลักการสำคัญคือเราใช้หลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมานำในการพัฒนา ระบบเศรษฐกิจก็คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันที่สองคือกลไกประชารัฐ
เราก็จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เป็น “เครื่องมือ” เพิ่มเติมมาอีก ได้แก่ คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน ที่เราตั้งมาแล้ว เรียกว่า กรอ. แก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ มีส่วนกลาง จากส่วนกลางมีทั้งในกลุ่มจังหวัดด้วย เพราะว่ามีผู้ประกอบการทั้งภาคธุรกิจเอกชนอยู่ด้วย ร่วมกับคณะกรรมการของเรา ของรัฐบาลนะ อันนี้เราได้ตั้งไปแล้ว คนร.
อันที่สองคือเรื่องของคณะกรรมการ นโยบายรัฐวิสาหกิจอันนี้ก็จะกำกับดูแลส่วนงานของรัฐวิสาหะกิจทั้งหมด อันที่สามคือ คณะทำงานประชารัฐ 12 คณะ จะได้เกาะเกี่ยวกันได้ทันที่ที่เขาเรียกว่าบูรณาการ แล้วการบริการให้สะดวกรวดเร็วขึ้น เพื่อจะง่ายในการประกอบการธุรกิจ เราก็จัดตั้งศูนย์ One Stop Service เพื่อให้การบริการด้านธุรกิจด้วย เช่น รถไฟทางคู่“กำลังก่อสร้าง 2 สาย”ใช่ไหม แก่งคอย-ฉะเชิงเทรา และถนนจิระ – ขอนแก่น “ในอนาคตอีก 5 สาย” คือ มาบกะเบา– ถนนจิระ นครปฐม – หัวหิน หัวหิน – ประจวบฯ ประจวบฯ – ชุมพร และ ลพบุรี – ปากน้ำโพ มูลค่า 1.3 แสนล้านบาท ก็มาก จะสร้างงานสร้างอาชีพได้พอสมควรถ้าเกิดได้ อันที่สองก็คือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ประกอบด้วย โครงการเร่งด่วน (วงเงิน 3,700 ล้านบาท) แล้วก็ทำแผนแม่บท ในเรื่องการปรับโครงสร้าง ICT เหล่านี้นะ วงเงินประมาณ 15,000 ล้านบาท อันนี้ต้องทำให้มันทั่วประเทศไง
พิธีกร: ที่จะเป็นโครงข่ายยกระดับพื้นฐานอินเตอร์เน็ตทั้งทั่วประเทศใช่ไหมค่ะ
นายกรัฐมนตรี: ต้องถึงทุกจุดที่มีความจำเป็นไม่ใช้ถึงทุกตารางนิ้วมันเป็นไปไม่ได้ ถึงทุกจุดที่มีความจำเป็นต้องใช้ แค่นี้ใช้เงินพอสมควร เงินที่ได้มาจากการประมูลบ้างอะไรบ้าง จากงบประมาณบ้าง ปัจจุบันก็ต้องเร่งออกกฎหมายให้ได้โดยเร็วอีก 8 ฉบับทั้งหมด จะได้ทำงานได้ ไม่เช่นนั้นก็ติดกฎหมายต่าง ๆ การออกกฎหมายก็ไม่ใช่ว่าออกง่าย ๆ ต้องไปพิจารณา 3 ขั้นตอน 3 วาระ อยู่ใน สนช.ด้วย
เรื่องสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภายใต้ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนระยะ 7 ปี (2558-2564)
(1) ระยะที่ 1ครอบคลุม 5 จังหวัด (ตาก + สระแก้ว + ตราด + มุกดาหาร + สงขลา)ใน 13 กลุ่มอุตสาหกรรม นะครับ
(2)ระยะที่ 2 อีก5 จังหวัด (เชียงราย + หนองคาย + นครพนม + กาญจนบุรี+ นราธิวาส)
(3) คือศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน OSS จะมีทุกเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่กล่าวไปเมื่อสักครู่ เพื่อจะได้สะดวกไง มาติดต่อที่กรุงเทพซึ่งเป็นศูนย์กลางแล้ว หน่วยงานใหญ่แล้ว ไปในพื้นที่ก็ไปพอเขาที่โน้นก็จะมีเจ้าหน้าที่ให้รายละเอียด ให้คำชี้แจ้งและจะพาไปดูสถานที่ด้วย ก็มีหลายประเทศ หลายผู้ประกอบการก็สนใจทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เข้าไปดูแล้ว
อีกอันที่เราจะต้องเร่งคือโครงการกระตุ้นและสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจ ฐานราก คำว่าฐานรากก็คือประชาชนะ ที่อยู่ข้างล่าง ซึ่งจริง ๆ ผมเรียกว่า ถ้าราก ก็เป็นรากแก้ว ที่มั่นคงแข็งแรงต่อไปในอนาคต เรามีโครงการเหล่านี้กว่า 4 หมื่นล้านบาท ตอนนี้เบิกจ่ายไปแล้วมากกว่าร้อยละ 90 ได้แก่
(1) โครงการ “ตำบลละ 5 ล้านบาท” ความเข้มแข็งของตำบลตามความต้องการของประชาชน
(2) โครงการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจน การสร้างงานสร้างอาชีพด้วยนะ ให้เขามีเงินใช้ด้วยจ้างงานนะ
(3) โครงการสนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกลทางการเกษตรให้แก่กลุ่มสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกร เพราะว่าวันนี้ใช้แรงอย่างเดียวไม่ได้ สมัยแล้วต้องใช้เครื่องจักรเครื่องไม้เครื่องมือ คราวนี้ถ้าใช้เอกชนอย่างเดียวราคาจะสูง เราเอาไปเทียบเคียงให้เขาว่าราคาควรจะเท่าไร ถ้าเราลดต้นทุนการผลิตไม่ได้ ด้วยการลดราคาการจ้างเครื่องจักรไม่ได้ ก็ประชาชน เกษตรกรก็เป็น มีหนี้มีสินตลอดไปเพราะฉะนั้นจะต้องดูตั้งแต่ต้นทาง
พิธีกร: ในช่วงที่ผ่านมาท่านนายกได้พูดถึง Thailand 4.0 SME Matching แล้วก็ New Startup สิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศหรือไม่ค่ะ
นายกรัฐมนตรี: ต้องมี เพราะว่าที่พูดออกไปเพื่อให้ทุกคนเข้าใจว่า โลกใบนี้มีการเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับ จะพูดว่า ระยะที่หนึ่ง Thailand 1.0 ใช้แรงงานอย่างเดียว 2.0 ใช้เครื่องจักรขนาดเบา ขนาดเล็กบ้างมาผสมผสานในการผลิต ต่อไปยุด 3.0 เราต้องติดอยู่ที่ 3.0 นี้ก็คือที่ผ่านมาประมาณ 20-30 ปีมาแล้ว มีทั้งเครื่องจักรเบาเครื่องจักรหนัก ผสมแรงงานไปด้วย แต่จากนี้ไปจะไม่ทันเขา ถ้าเราไม่มีการพัฒนาตัวเอง 4.0 นั้นต้องเอา 3.0 มาดูว่าที่ผ่านมามีปัญหาอะไรบ้าง คือความเหลือล้ำ ความไม่เท่าเทียมหรือการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่สมดุล หรือการสนใจในเรื่องของสังคมจิตวิทยาน้อยเกินไป เหล่านี้ทำให้ประเทศเดินหน้าได้ไม่ค่อยเร็วนัก ก็เลยทำให้ติดกับดักตัวเอง รายได้ปานกลาง เพราะฉะนั้นต้องเดิน 3 อย่างด้วยกัน คือ Thailand 4.0
พิธีกร: เรื่อง Startup
นายกรัฐมนตรี: Startup คือโลกให้ความสนใจเรื่อง SMEs คือธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อสนับสนุนขนาดเล็กให้เป็นกลาง ขนาดกลางให้เป็นใหญ่ เพราะฉะนั้นในการประชุม UN หรือในการประชุมอาเซียน เขากล่าวถึงคำว่า SMEs ทุกประเทศ ประเทศไทยมีธุรกิจที่เราส่งออกที่เป็น SMEs กว่า สองล้านราย เรียกว่า 90% ขณะนี้ก็เร่งรัดเรื่องการจดทะเบียน การให้ทุน การให้ความรู้ การจัดทำบัญชีเดียวอะไรเหล่านี้ ระบบการเสียภาษีทั้งหมด ต้องเร่งทั้งหมดเลยเพราะว่า ที่ผ่านมาไม่ค่อยได้ใส่ใจกับตรงนี้ วันนี้ก็พยายามเร่งอยู่ อีกอันหนึ่งคือในเรื่องของ Startup กับ SMEs อันเดียวกัน เพียงแต่อันนี้เป็นคนรุ่นใหม่ จากที่เราพูดไปเรื่องของ 4.0 บ้าง พูดไปในเรื่องของการขับเคลื่อนประเทศไปอย่างไร และในอนาคต 4.0 คือการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ใช้เครื่องจักรกลที่เป็นหุ่นยนต์บ้างอะไรบ้าง คือต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลงานเหล่านี้ออกมาเป็น นวัตกรรมใหม่ ๆ เพราะว่าอันนี้คือเรียกว่า New Startup เพื่อจะสนับสนุน S Curved New S Curved 5 อุตสาหกรรมหลักของประเทศในอนาคตเดิมมีอยู่ 5 บวกใหม่อีก 5 เพื่อจะรองรับโลกในวันข้างหน้าด้วย วันนี้ทำทุกอย่าง
อันหนึ่งที่สำคัญก็คือว่า การเกษตร สินค้าการเกษตรตกต่ำ ประชาชนมีรายได้น้อย เกษตกรก็จะผละอาชีพไปทั้งหมด น้ำก็แล้ง ทำนองนี้ เราก็มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ 882 แห่ง ของกระทรวงเกษตรในทุกพื้นที่ ศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ทั้งหมดจำนวน 7,110 ศูนย์ ด้วย ศบกต. แล้วมีวิสาหกิจชุมชน Social Enterprise / Holding Company ซึ่งกำลังจะเปิดตัวเร็ว ๆ นี้ ให้เห็นในหลายจังหวัดด้วยกัน เป็นการร่วมมือกันของภาคเอกชนที่จัดตั้งบริษัทขึ้นมาแล้วให้ประชาชนได้มีการ บริหารกันเอง แล้วผลประโยชน์ก็ไม่ได้เอามาแบ่งปั้นให้เป็นเบี้ยเลี้ยง ค่าแรงของเจ้าหน้าที่ ผลกำไรก็เก็บมาเพื่อจะเอาไปขยายต่อของเขาเอง เป็นทางเลือกของเขา จะได้แข่งขันกับพ่อค้าคนกลางได้บ้าง แล้วสนับสนุนความร่วมมือจากธุรกิจขนาดใหญ่ของเขา ช่วยกันรับซื้อแบ่งเบาภาระไปบ้าง วันนี้เกิดขึ้นหลายพื้นที่แล้ว
อีกอันที่สำคัญคือปัญหาเรื่องน้ำ ถ้าเราไม่มีการ Zoning พื้นที่เกษตรกรรม ก็จะเป็นปัญหา การโซนนิ่งพื้นที่การใช้น้ำเหล่านี้จะได้ไม่มีปัญหาไปทั้งหมด แล้วการปลูกพืชที่เกินความต้องการ เพราะฉะนั้นวันนี้ให้ทางกระทรวงเกษตรจัดทำ Agri Map คงจะได้ยินกันแล้ว ไปดู ผมให้ทำทั้งประเทศ แล้วกระทรวงเกษตรฯ ทำออกมาเป็นผลสำเร็จ ผมชื่นชมเขา ผมบอกอยากให้ชัดเจนขึ้น เขาก็ทำมาแล้ว Agri Map ก็คือทุกคนจะรู้ว่าในพื้นที่ของตัวเอง จังหวัดของตัวเอง บ้านตัวเอง มีน้ำเท่าไร ตรงไหน ดินเป็นยังไง อากาศเป็นอย่างไรเหมาะสมปลูกพืชชนิดไหน ก็เป็นการแนะนำเขา
ต่อไปจะให้ความรู้เพิ่มเติมอีกเป็นแบบ อินเทริเจน แม็พ ให้เขาเรียนรู้ว่าถ้าเขามีที่ 5 ไร่ 10 ไร่ 30ไร่ ถ้าพื้นที่ตรงกับใน Agri Map เขาควรจะบริหารอย่างไร ปลูกอะไร ทำอะไรที่มันจะเกิดรายได้
วันนี้ก็นอกจากที่ทำใส่เข้าไปในระบบ IT แล้ว ตามช่องทาง G News ก็มีอีกมากมายเลยที่ให้ไปเป็นเล่มไปอ่านกันเอง แล้วก็ให้ไปติดต่อกันเอง ที่ไหนสำเร็จก็ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
วันนี้ โซนนิ่งพื้นที่เกษตรกรรมไปแล้ว 150 ล้านไร่ คือทำเป็นเกษตรแปลงใหญ่ 263 แปลง แปลงขนาดใหญ่ 500 ไร่บ้าง 1000 ไร่บ้าง เพื่อจะจัดสรรพื้นที่จัดสรรน้ำให้เหมาะสม แล้วก็มีการตลาดที่เพียงพอ และให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมใหม่ไปด้วย อันนี้ก็จะเป็นว่ามีสถิติการลงทุนใหม่ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นในช่วงปีที่ ผ่านมาและในช่วงต้นปีที่ผ่านมาสูงขึ้น แต่ขณะนี้เขาก็รอดูว่า สถานการณ์เราเป็นอย่างไร บ้านเมืองสงบเรียบร้อยหรือไม่ ผมก็อยากจะฝากทุกคน เราอย่าไปขัดแย้งกันอีกเลย สิ่งเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้น เราดี ๆ และพี่น้องเราจะได้หายจากความลำบากยากแค้นสักทีผมสงสารเขา
พิธีกร: ท่านนายกฯ คะ ดูเหมือนว่าช่วง ปี-สองปีที่ผ่านมา “ภัยแล้ง” จะเป็นอุปสรรค์สำคัญในการก้าวหน้าทางด้านเกษตรกรรมของประเทศ แต่ท่านนายกฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการบริการจัดการน้ำ ไว้เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง อยากให้ท่านนายกฯ ได้เล่าให้ฟังถึงว่าการทำงานของคณะบริหารจัดการน้ำมีความคืบหน้าไปแค่ไหน แล้วบ้างอย่างไรค่ะ
นายกรัฐมนตรี: เราได้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ตั้งแต่ตอน คสช. เข้ามา ตอนนี้มีการปรับเข้ามาสู่ระบบบริหารราชการแล้ว เข้าสู่กระทรวง หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้มีการประชุมมาหลายครั้ง เป็นการภายใน เพื่อจะปรับแก้แผนทั้งหมด เป็นแผน 15 ปีมั้ง (MC: เป็นแผนระยะยาว) ระยะยาวคราวนี้เราจะทยอยทำไปตามลำดับ ตามแผนที่วางไว้ ตรงนี้เป็นสิ่งที่ยากเพราะว่าเราประเมินสถานการณ์ล่วงหน้ามากนักไม่ได้ ไม่รู้ฝนจะตกแบบปีที่แล้วหรือไม่ ทำนองนี้ ปีหน้าโลกเปลี่ยนแปลงง่ายยังไง ตอนนี้ทั้งโลกมีปัญหาหมด เดี๋ยวมีพายุลูกเห็บขนาดใหญ่บ้าง มีหิมะตกไม่ตก ต่างประเทศเขาก็เป็น ประเทศไทยมีอย่างเดียงฝนไม่ตก ตกน้อยเกินไป เราก็ไม่ใช่ว่าตกน้อยในรอบ 40 ปี ก็เลยทำให้น้ำต้นทุนเราที่มีอยู่อย่างจำกัด น้ำในเขื่อนลดลง
อันที่สองคือการทำการเกษตรนอกเขตชลประทานต้องดูแลอีก วันนี้ก็เร่งรัดให้เขาทำความชัดเจนให้เกิดขึ้นว่าเราทำอะไรไปแล้วบ้าง อยากจะเรียนว่าข้อมูลความคืบหน้า ทั้งหมด 12 กิจกรรมมีระยะเวลาในการทำโครงการต่างกัน เน้นทั่วถึง กระจายทั่วประเทศยกตัวอย่างเช่น
– น้ำบาดาลช่วยภัยแล้ง ระยะเร่งด่วน ผมปรับงบประมาณมาตลอด บางที่ก็ไม่พอเอายังไง ก็ต้องปรับเอาที่ต้องทำคราวหน้ามาใส่ครั้งนี้ก่อน ประชาชนเดือดร้อน ทั้งหมดมีเป้าหมาย ทั้งหมด 3,086 แห่ง เราทำเสร็จแล้วประมาณสักครึ่งหนึ่ง ร้อยละ 51 ก็เร่งอยู่
– อันที่สองคือน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร อันนี้ 12 ปี เราทำเป้าหมายไว้ทั้งหมด 18,559 แห่ง ไม่เคยทำมากเท่านี้มาก่อน ทำแล้ว ร้อยละ 12
– ขุดสระน้ำในไร่นา 13 ปี ระยะยาว เป้าหมาย 331,750 สระ ทำแล้วร้อยละ 34 โครงการ
– ต่อไปเรื่องประปาหมู่บ้าน 4 ปี เป้าหมายทั้งหมด 7,490 หมู่บ้าน ที่ยังไม่มีแหล่งน้ำประปา คือทำประชาหมู่บ้านไม่ได้ ทำแล้วประมาณร้อยละ 75 ขณะนี้
– สำหรับประปาโรงเรียน ก็ต้องดูอีก ระยะยาว 7 ปี เป้าหมายทั้งหมด 6,132 แห่ง ทำไปแล้ว ร้อยละ 18
– ต่อไปเรื่องการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 ปี เป้าหมาย 2,922 แห่งทำแล้ว ร้อยละ 56
แล้วการช่วยเพิ่มปริมาณน้ำเพื่อการเกษตร เข้าสู่ระบบ เติมน้ำอะไรทำนองนี้ 1,178 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 14 ทำไปแล้ว สำหรับเป้าหมาย 12 ปี ต้องทำให้ได้น้ำเพิ่มขึ้น 8,250 ล้าน ลบ.ม.
หลักการคือว่า ทำอย่างไรประชาชนหรือเกษตรกรจะเข้าถึงแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะอุปโภค บริโภค หรือน้ำเพื่อการเกษตร อุตสาหกรรม น้ำเพื่อระบบนิเวศน์ด้วย 3-4 อันนี่ เน้นการเรื่องการเข้าถึง การเตรียมแหล่งน้ำ เพื่อจะรองรับฝนหน้านี้ ผมก็ปรับระยะยางกลับมาใส่ตรงนี้ เพราะเราคาดหวังว่าปรากฏการณ์เอลนีโญ จะเกิดในเดือนพฤษภาคม มิถุนายน พายุฤดูร้อนกำลังเข้ามาตอนนี้ น่าจะมีฝนตก คาดหวังไว้ แต่เราก็เตรียมแหล่งน้ำไว้รองรับฝนหน้าไว้พอสมควรนะ
เรื่องต่อไปคือเราจะต้องยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น เพราะเวลาแล้งแล้วไม่มีความสุข
พิธีกร: ดูหดหู่ไปหมดเลย
นายกรัฐมนตรี: เราขึ้นเครื่องบินไป เรานั่งรถไป อะไรต่ออะไร เห็นแล้งๆ แล้วเราก็สงสารเขา ไม่รู้จะหาเงินได้จากตรงไหน ลูกหลานก็ต้องไปทำงานนอกพื้นที่ ความอบอุ่นในครอบครัวก็หายไป ทำไงเขาจะมีความเข้มแข็งในพื้นที่ของเขา ในภูมิภาคของเขา ในจังหวัดของเขา ผมก็ได้อธิบายทางด้านอื่นไปแล้ว ให้สอดคล้องกัน
เรื่องในส่วนของการบริหารจัดการน้ำเพื่อ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน ปี 60 เราใช้ไปทั้งหมด 99,356 ล้านบาท สำหรับกรณีที่มีเรื่องทุจริตอะไรต่าง ๆ ก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเมื่อไรก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลนี้เข้ามา คสช. เข้ามาจะไม่ปล่อยปละละเลย เพราะบางครั้งการตรวจสอบโครงการเหล่านี้ บางทีตรวจสอบไม่ได้ทั้งหมดในเวลาเดียวกัน ต้องทยอยตรวจสอบไป ใช่หรือไม่ แต่เราจะไม่ปล่อยปละละเลย ใครแจ้งมา อะไรมา ก็รีบเร่งตรวจสอบก่อน ตอนนี้ก็มีข่าวอยู่ เราจะไม่ปล่อยปละละเลยนะ เมื่อชี้มาก็ต้องตรวจสอบ ลงโทษ เราจะไม่ปล่อยให้ทุกคนไม่มีความผิด ลอยนวล เกิดขึ้นไม่ได้ เราจะเร่งนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ให้ความเป็นธรรม เป็นเงินภาษีประชาชน เพราะฉะนั้นอย่ามาพูดว่ารัฐบาลนี้มีเหมือนกัน ทุจริตเหมือนกัน ไม่ใช่อยู่ที่ทุจริตแล้ว จะดำเนินการอย่างไรต่อไป ไม่ใช่หยุดทั้งหมด ไม่ใช่หยุดไม่ทำเลย ไม่ได้ก็ต้องต่อไป คนทำผิดก็เอาออกไป ลงโทษ ติดคุกอะไรไป กฎอะไรต่าง ๆ ก็แล้วแต่ ลงโทษทางวินัยบ้าง อะไรบ้าง แต่การทำงานต้องทำต่อเนื่องใช่หรือไม่
พิธีกร: ท่านนายกฯ พูดถึงมาแล้ว 2 ด้าน ด้านความมั่นคง และด้านเศรษฐกิจ ต่อไปเป็นมิติทางด้านสังคมจิตวิทยาบ้าง ว่า คสช. ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาสังคมอย่างไรบ้างค่ะ
นายกรัฐมนตรี: ย้อนกลับไปดูก่อนเมื่อวันที่ 22 กับ หลัง 22 พฤษภาคม ไปดูเรื่องคิวมอเตอร์ไซต์ รถตู้ ทางเท้า ชายหาด รถแท็กซี่ รถเมล์ รถต่าง ๆ มากมายไปหมด ทำไปก็สำเร็จ พอว่างเว้น พอไปทำตรงอื่น ก็เริ่มกลับมาอีกแล้ว คือเป็นสิ่งที่ผมอยากขอร้องทุกคน ก็รู้ว่าจน แต่ทุกคนต้องเคารพกฎหมาย ไม่งั้นก็ไม่เท่าเทียม คนทำผิดกฎหมายก็ขายไม่ได้ยังไง เพราะว่าเคารพกฎหมาย คนไม่เคารพกฎหมายก็ขายได้ แล้วบอกว่าจน แล้วจะเท่าเทียมไหมในกิจการเดียวกัน เพราะคนไทยทั้งคู่ ผมต้องการให้คนในกลุ่มเดียวกันนี่ เคารพกฎหมาย ไม่เคารพกฎหมาย ร่วมมือกัน เผื่อแผ่แบ่งปันกันบ้าง เดี๋ยวรัฐบาลก็จะไปหาที่ขายให้ ก็หลาย ๆ ที่ ย้ายไปก็ดีขึ้น คลองถม เห็นเขาบอกว่าขายดีขึ้น ใหม่ ๆ ก็ธรรมดา เคยชินมา 10-20 ปี ก็ขอร้องอย่ากลับมาที่เดิมแล้วกัน
อันที่สองเรื่องผืนป่าที่ถูกบุกรุก จริง ๆ แล้ว ผมไม่อยากใช้คำว่าทวงคืน แต่เป็นเรื่องของการปฏิบัติตามกฎหมาย เราจะต้องรักษาผืนป่าให้สมบูรณ์ไว้ได้ประมาณร้อยละ 40 ของประเทศ คือประมาณ 128 ล้านไร่ ใน 10 ปีนะ เราจะต้องเอากลับมา 128 ล้านไร่ ใน 10ปี ไม่ใช่ปีนี้จะเอากลับมาได้128 ล้านไร่ เป็นไปไม่ได้ 10ปี เพราะว่าเอาคืนมาก็ต้องหาที่ให้คนเหล่านี้ทำกิน เพราะว่าประชาชนเข้าไปบุกรุกอยู่ในนั้น ต้องสร้างความเข้าใจ หาที่ดินให้เขา เพราะฉะนั้นป่าไม้ที่มีการบุกรุก เอากลับมาก็ต้องมาดูว่า เป็นป่าต้นน้ำ ป่าอุทยานหรือไม่ หรือป่าที่เสื่อมสภาพแล้ว ถ้าเสื่อมสภาพแล้วก็จัดให้เขาทำกิน เหมือนที่เราไปมอบมาหลายๆ ครั้งมาแล้ว คือเขาจะได้สบายใจ เขาบุกรุกอยู่แล้ว บุกรุกมาหลายปีแล้ว แล้วป่าก็หมดสภาพป่า แต่ผมไม่ให้บุกรุกใหม่ ของเก่าก็บริหารจัดการให้ได้ ใครยังไม่มีก็มาเติม หาที่อยู่ที่ไม่บุกรุกป่า เพราะเข้าไปในป่าต้นน้ำ ป่าอุทยานไม่ได้ แล้วก็สร้างป่าชุมชน กับป่าเศรษฐกิจให้เขาด้วยจะได้ใช้ได้ จะได้หาอาหารได้ในพื้นที่ป่าชุมชน เป็นธนาคารอาหาร Food Bank ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
การดำเนินการเรื่องนี้ ได้มีการดำเนินคดีไปแล้วประมาณ 1 แสนไร่ คิดเป็นร้อยละ 45 และอยู่ระหว่างการพิสูจน์สิทธิ 4.6 ล้านไร่ สรุปว่าแล้วเสร็จไปประมาณร้อยละ 20 สำหรับป่าที่เหลือให้เจ้าหน้าที่ร่วมกับชุมชนดูแลร่วมกัน รวมอีก 101 ล้านไร่ เรื่องนี้เสร็จทั้งหมด ในเรื่องของการทวงคืนพื้นที่ป่าไม้ที่บุกรุกปลูกยางพารา มีการบุกรุกมากจนปลูกจนเกินปริมาณความต้องการในประเทศ และต่างประเทศต้องมาแก้ด้วยการนำสู่การผลิตในประเทศ ใช้ในประเทศให้มากขึ้น วันนี้ที่จะต้องทวงคืนมาก็ 5.5 ล้านไร่ แล้วเสร็จไปแค่ 1.2 แสนไร่
ประการแรกผมอยากให้ทุกคนรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด จากนั้นการถูกหรือผิดก็จะต้องไปหาวิธีการบริหารจัดการที่ดีทั้งรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ ว่าจะทำยังไงแก้ไขปัญหาให้เขาได้หรือไม่ ถ้าเขาไม่ยากจน ถ้าเขาไม่มีที่ทำกินที่เพียงพอ เขาก็จะต้องเป็นอยู่อย่างนี้ เราถึงต้องไปมองมิติอื่นด้วย อาชีพอื่น ๆ ที่เสริม ที่พูดไปแล้ว เรื่องอุตสาหกรรม ที่จะต้องควบคู่กันไปในท้องถิ่นด้วย อย่าคัดค้านกันมากนักเลย
วันนี้จัดสรรที่ดินที่ผมพูดไปแล้วคือ มีคณะกรรมการ คทช. เป้าหมายปี 2559 เราก็จะทำทั้งหมด 80 พื้นที่ 47 จังหวัด 325,205 ไร่ ล่าสุดวันก่อนผมไป จ.เชียงใหม่ ได้มอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์-อยู่อาศัย ลักษณะ “แปลงรวม” ขายไม่ได้ไม่ให้กรรมสิทธิ์ เพราะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่เป็นป่าที่เสื่อมโทรมแล้ว เช่น ป่าแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 3,878 ไร่ (2) ป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง 2,308 ไร่
ต่อไปคงเป็นเรื่องของการปราบปรามการทุจริต เชื่อมโยงกันหมด ประเทศไทยปัญหามาก เพราะการปล่อยปละละเลย ในปี 2556-2558 แล้วก็ต่อๆ ไปนี่ผมจะไม่ละเว้นนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม จะผิดจะถูกไปสู้คดีกันเอาเอง คดีทุจริตมีมูลค่าความเสียหายรวม มากกว่า 5 แสนล้านบาท เสียดาย 5 แสนล้านทำอะไรได้มากมาย ทำรถไฟ ทำรถไฟฟ้าได้เส้นหนึ่ง สถานการณ์คอร์รัปชั่นไทยในปี 2558 ถึงแม้จะดีที่สุดในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา ผมก็ไม่พอใจต้องเร่งรัดให้มากขึ้นกว่านี้เราพยายามกำหนดมาตรการสำคัญเยอะแยะ นะ
เรื่องที่หนึ่งคือการตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.)
เรื่องที่สองการตั้งคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.)
เรื่องที่สาม พ.ร.บ.การอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
เรื่องการใช้สัญญาคุณธรรม (IP)
ระบบ CoST มีระบบร้องเรียน มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด มีการตรวจสอบทั้งก่อน และหลังการทำโครงการ บางครั้งตรวจก่อนไม่ได้ เพราะตอนแรกเขาเร่งดำเนินการกัน เพราะเป็นแสนๆ โครงการ แต่ก็ต้องทำ ตรวจสอบยังไม่เสร็จ บางอันก็ต้องมาตรวจสอบต่อ เขาก็ต้องทำไปก่อน พอทำเสร็จแล้วเจอที่พูดไปเมื่อสักครู่ ก็ต้องลงโทษ
พิธีกร: การปฏิรูปการศึกษาของรัฐ
นายกรัฐมนตรี: ทุกคนต้องมองว่าการปฏิรูปเป็นเรื่องสำคัญที่สุด การปฏิรูปการศึกษาเพราะเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผมเห็นด้วย แต่คราวนี้เราจะทำอย่างไร เราไม่ได้ว่าระบบเราเหลวแหลก ล้มเหลวไปทั้งหมด ไม่เช่นนั้นอยู่ไม่ได้ ประเทศนะ ทีนี้ทำยังไงจะดีขึ้น ดีขึ้นก็คือว่า ผลิตคนที่ตรงความต้องการของประเทศ แล้วประชาชนมีการเรียนรู้มากกว่าเรียนเพื่อจะรับปริญญา หรือเพื่อจะเลื่อนวิทยฐานะ ไม่ใช่ ต้องเรียนรู้ทั้งในภาคการศึกษา แล้วสอนให้คนมีคุณธรรม ไม่ทุจริตอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นอนาคตทั้งนั้น
การศึกษาที่เราเร่งมากที่สุดคือว่า ทำอย่างไรจะมีการบูรณาการระหว่าง 5 แท่งให้ได้ ผมก็จำเป็นต้องใช้มาตรา 44 ในการที่จะ แก้ไขปัญหา ไม่ใช่ยุบ เพียงแต่ว่ามีคณะกรรมการบูรณาการมา ไม่เช่นนั้นทุกแท่นทำกันเองหมด พรบ. ตัวเอง งบประมาณตัวเอง เสร็จแล้วรัฐมนตรีก็สั่งอะไรไม่ได้มากนัก เพราะแบ่งงานให้รัฐมนตรีช่วยไปหมด นั่นคืออดีต
วันนี้ผมให้รัฐมนตรีว่าการรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวข้างบน แล้วสั่งการลงมา มีรัฐมนตรีช่วย ช่วยกันแล้วก็ขับเคลื่อนคณะกรรมการ ขับเคลื่อนบูรณาการด้านการศึกษา ซึ่งมี 5 แท่ง คือหัวหน้าหน่วยงาน 5 แท่ง จะสร้างไปข้างล่างให้ต่อกัน ตอนนี้หลายอย่างเกิดขึ้นมาใหม่แล้ว อาจจะไม่ทันใจมากนัก เพราะติดกฎหมายหลายตัว ไม่จำเป็นผมไม่ใช้ เกี่ยวกับเรื่องการศึกษา แต่จำเป็นจริง ๆ
วันนี้มีจัดตั้งเขตการศึกษาใหม่ 18 เขต แล้วให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอะไรต่างๆ ก็เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การศึกษา อบท. อะไรต่างๆ แต่อย่าเพิ่งไปโอนให้ใครเลย ผมว่าวันนี้ทุกคนมาร่วมมือกัน ทำให้การศึกษาในท้องที่ดีขึ้น วันนี้คณะกรรมการ 12 คณะของเราก็ลงไปดูเรื่องการศึกษาด้วย มีการจัดทวิภาคีด้วย ก็หลายอย่างมาเสริมกันหมด หลายอย่างก็ให้ติดตามแล้วกัน
อันที่สองคือการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลาเรียนรู้ อันนี้คือเรียนและเรียนรู้ เรียนเพื่อปริญญา เรียนเพื่อตัวเอง แต่ก็ต้องเรียนรู้เพื่อสังคมด้วย จะต้องอยู่กันยังไง ไม่ขัดแย้ง อันนี้ สอง สาม พูดรวมกันแล้วกัน
อันที่สี่คือโครงการ “โรงเรียนคู่พัฒนา” ที่เรียกว่าทวิภาคียังไง คือจะต้อง โรงเรียนนี้ กับโรงเรียนโน้น พี่จูงน้อง เพื่อนจูงเพื่อนไปด้วยกัน แล้วทั้งสองโรงเรียนก็จะเป็นคู่กันในการพัฒนาร่วมกัน จะได้ลดความแตกต่าง ในด้านมาตรฐานการสอน ที่ผ่านมาบางทีต่างคนต่างสอน ไม่ได้ดูกันยังไง วันนี้ต้องดูกันแล้วก็พัฒนาตัวเองให้เท่าเทียม คนได้ประโยชน์คือใคร คือเด็กใช่หรือไม่ คือครูใช่ไหม คือประเทศชาติใช่หรือไม่
อันที่ห้าคือ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มไว้ DLTV นานแล้ว วันนี้เราก็สามารถทำได้ทั้งหมดแล้ว ประมาณ 15,000 กว่าโรงเรียน เพื่อสนองแนวทางพระราชดำริ กำลังปรับปรุงทุกอย่างให้ดีขึ้น ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ ถึงต้องไปสู่การเป็น Digital Economy ด้วย
ต่อไปเรื่องที่หก คือโรงเรียนประชารัฐ เรามีความมุ่งหมายว่า ทำยังไงจะทำให้มีส่วนร่วมในโรงเรียนเหล่านี้ ในการประสานความร่วมมือในภาคประชารัฐ ในภาคประชาชน ภาครัฐบาล ภาคประชาสังคม มาร่วมมือในโรงเรียนด้วย เป้าหมายระยะแรก 1 ตำบล 1 โรงเรียนต้นแบบก็คือ 7,424 แห่ง แต่ละตำบลนะครับ แล้วต่อไปก็จะขยายลงมา จากตำบลก็ไปเป็น พื้นที่ ๆ เล็กลงไปกว่านั้น
พิธีกร: เข้าไปถึงหมู่บ้านเลย
นายกรัฐมนตรี: ต้องดูกัน ต้องฝากครูฝากบุคคลากรทางการศึกษาช่วยดูกันด้วย ดูแลด้วย ถ้าเราไม่ทำตามนี้ ไปไม่ได้ ต่างคนต่างเรียน ต่างคนต่างขับเคลื่อน ไม่ได้
เรื่องการขับเคลื่อนเรื่องวิจัยพัฒนานี่สำคัญ เพราะเราบางทีรัฐลงทุนไม่ได้มากนัก ต้องไปร่วมมือกับใคร ของรัฐก็มี ของ สวทช. ของ ภาคเอกชนที่ ทุกบริษัทใหญ่ๆ เขามีหมด สถาบันวิจัยของเขาเอง เราก็ไปร่วมมือกับเขา อันที่สามร่วมมือกับสถานศึกษาของเราตามมหาวิทยาลัยมีมากมาย เรื่องวิจัย ตอนนี้รัฐบาลกำลังรวบรวมทั้งหมดไว้ แล้วมาดูซิว่าเราจะจัดระเบียบตรงนี้อย่างไร ทุนการศึกษา เฉพาะในสิ่งที่เราต้องการนี่เป็นหลัก
อันที่สองคือตามอิสระ ต้องจัดการอย่างนี้ ถ้าเพียงจ่ายทุน ๆ แล้วกลับมาอะไรหรือเปล่าไม่รู้ไปไหนก็ไม่รู้ อย่างนี้ไม่ได้ วันนี้ก็ให้รวบรวมมาได้แล้วนะ ประเทศไทยมีจบปริญญาเอกเท่าไรรู้ไหม 30,000 กว่าคน
พิธีกร: เป็น ดอกเตอร์ ทั้งนั้นเลย
นายกรัฐมนตรี: ดอกเตอร์ 3 หมื่นกว่าคน ต้องทำให้ดอกเตอร์ 3 หมื่นกว่าคน ทำให้คนไทยฉลาดขึ้นให้ได้ แล้วทำให้คนไทยเลิกความขัดแย้ง ให้เข้าใจว่าโลกภายนอก เขาเป็นอย่างไร มองตัวเองคนเดียวไม่ได้แล้ว ต้องแก้ไข เรื่องการพัฒนาระบบ ICT ให้กว้างขวางทั่วประเทศ พูดไปแล้ว
ตัวอย่างที่เห็นเร็วๆ ตอนนี้ก็คือ “การสร้างพลังประชารัฐ จากพลังเยาวชน” ผ่านกลไกสภานักเรียน ซึ่งผมเห็นกระทรวงศึกษาเขาทำอยู่ มีประโยชน์ แล้วก็มีความก้าวหน้ามากขึ้น ผมคิดว่าสิ่งนี้จะแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนในอนาคต
พิธีกร: เท่าที่เห็นทุก ๆ ปี สภานักเรียนจะมายื่นข้อเสนอกับท่านนายกฯ ทีนี้ ฝันของสภานักเรียนจะเป็นจริงแล้วใช่ไหมคะ
นายกรัฐมนตรี: ต้องเป็นจริงเพราะว่า แต่บางอย่างเป็นปัญหาที่ทับซ้อน ต้องแกะออกมา ต้องแกะปัญหาออกมาเป็นปัญหาย่อย ปัญหาเล็กน้อย แล้วก็แก้ทีละปัญหา ปัญหาใหญ่ถึงจะจบ อะไรที่แก้ได้เลยก็แก้เลย กระทรวงศึกษาต้องแก้เลยนะ ผมถึงให้อำนาจเขา เพราะฉะนั้นจะต้องให้ทำงานร่วมกันกับกระทรวงศึกษา ของสภานักเรียน ให้ครอบคลุมปัญหาต่าง ๆ ในสังคม วันนี้ก็เห็นเขามีความสุขขึ้น ตัวแทนมาพบรัฐมนตรีศึกษา ก็บอกพอใจ ศธ. จะเป็นตัวกลาง เชื่อมสภานักเรียนกับกระทรวงยุติธรรม ในเรื่องของยาเสพติด เชื่อมกับกระทรวงทรัพย์ฯ เรื่องป่า น้ำ ขยะ กระทรวงวัฒนธรรม เรื่องการเสพสื่อ Social เหล่านี้ ก็ต้องเร่งทุกอัน กระทรวงศึกษากำลังทำอยู่ แล้วต้องนำเรื่องของกรปลูกฝังประชารัฐ ฟังเสียงเยาวชน ร่วมสร้าง กำหนดอนาคตที่เด็กๆ ต้องการ เพื่อจะสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ 20 ปีข้างหน้าด้วย
พิธีกร: ท่านนายกฯ คะ ทราบว่าทางรัฐบาลมีแผนยุทธศาสตร์ 10 ปี ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้กับพี่น้องประชาชน แผนนี้จะเริ่มในปีนี้เลยใช่ไหมคะ แล้วมีโครงการอะไรบ้างคะท่านนายกฯ คะ
นายกรัฐมนตรี: ตอนนี้มีหลายหน่วยงานที่ผมสั่งงานไปแล้ว ไม่ว่าจะกระทรวงพัฒนาความมั่นคงมนุษย์ กระทรวงกลาโหม เพราะเราต้องดูแลไปถึงข้าราชการพลเรือง ตำรวจ ทหาร ด้วย ระดับเด็กๆ รายได้น้อย แล้วก็ประชาชนที่ยังไม่มีบ้านของตัวเอง ก็ต้องวางแผนยาว 2559 ถึง 2568 ก็จะเน้นผู้มีรายได้น้อย ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ประมาณ2.7 ล้านครัวเรือน ในขณะนี้นะ จากทั้งหมด 4.6 ล้านครัวเรือน อันนี้แผนระยะยาวยังได้ 2.7 เลย ทั้งหมด 4.6 นะ คิดเอาแล้วกัน แล้วระหว่างนี้เรากำลังสร้าง ๆ แล้วคนใหม่ใช้อีกเท่าไร ต้องมากกว่านี้ อันหนึ่งก็คือจะมีที่อยู่อาศัยในอนาคต อันที่ 2 ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการก่อสร้างเหล่านี้
ปัญหาคือ มีเสียงกลับมาว่า บางครั้งไม่เข้ากติกา เขาต้องมีกติกาไม่เช่นนั้นหนี้จะเป็น NPL ยังไง กู้เขามา บางคนก็เคยมีกรรมสิทธิ์บ้านหลังอื่นมาก่อน เขาเขียนบ้านหลังแรกยังไง ก็กำลังให้เขาดูอยู่ว่าจะทำยังไง อายุมากเกินเกณฑ์ที่กำหนด นี่ก็อีกอัน เขาต้องแค็ป เหล่านี้ไว้ด้วย บ้านพร้อมที่ดินมีราคามากกว่า 1.5 ล้านบาท ผมก็บอกว่าไปหาบ้านที่ราคาถูกได้ไหม บ้านประกอบ น๊อคดาว ผมเห็นรูปมากมายไป ทำไมไม่เอามาคิดกัน บ้านไม่กี่แสน แสน สองแสน การปลูก ซ่อมแซมบ้าน บนที่ดินของคนอื่น เหล่านี้เป็นปัญหาทั้งสิ้นทีเราต้องไปแก้ตามต่อ ไม่ใช่คิดจะทำ แล้วทำได้เลย ติดหมด ให้กระทรวงการคลัง กระทรวง พม. แล้วก็กระทรวงกลาโหม เป็นแม่งาน ไปช่วยกันดูแล คณะกรรมการขับเคลื่อน
ความสามารถในการผ่อนชำระ ภาระหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งถ้าเราปล่อยไปมาก ๆ จะหนี้เสีย NPL มากขึ้น สถาบันการเงินเขาจะมีปัญหา เพราะฉะนั้นเราต้องประเมินผลโครงการในระยะยาว ช่วยเหลืออย่างแท้จริงแก้ปัญหาผู้ที่จะแก้ปัญหาผู้อยากร่วม แต่ร่วมไม่ได้ยังไง จะทำยังไง กำลังให้พิจารณาอยู่นะครับ ขอให้ระมัดระวังหน่อยนะ การใช้เงิน การมีหนี้โดยไม่จำเป็น การใช้อย่างสุรุ่ยสุร่าย ให้สำรวจหนี้สินของตัวเอง เสียก่อน ภาระการใช้จ่าย ฟังรัฐบาลชี้แจงอย่าไปทำหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
อีกอันหนึ่งคือเรื่องของข้าราชการก็ดูแลเขาต้องไปดูว่าที่ของกรมธนารักษ์ ที่ราชพัสดุ สามารถจะทำได้ไหม เพื่อจะให้ข้าราชการที่ไม่มีบ้านอยู่ในการทำงานในช่วง กำลังอยู่ใน ยังไม่เกษียณนะ ก่อนเกษียณอายุ จะเช่าอยู่ได้ ระยะสั้น ระยะยาว แล้วก็มีอีกส่วนหนึ่งที่สามารถจะเช่าซื้อได้ เพื่อเป็นอนาคต เมื่อเขาเกษียณไปแล้ว นี่ความมั่นคงสำคัญนะ ลูกหลานจะอยู่กันยังไงในวันหน้า ต้องคิดให้ครบระบบ ปัญหาคือระยะเวลา ปัญหาคืองบประมาณ ปัญหาคือความขัดแย้ง อันนี้ก็ทำทั้งหมดนะ ก็จะมีข้อมูลให้ทราบต่อไป บางอย่างก็รัฐจัดทำ บางอย่างก็เอกชนสร้างบ้างอะไรบ้าง ร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน
พิธีกร: ทั้งนี้ที่ทำก็เพื่อช่วยเหลือข้าราชการชั้นผู้น้อย เพื่อให้เขามีบ้านพัก มีที่อยู่อาศัย
นายกรัฐมนตรี: ตามสิทธิ์เขาต้องได้บ้านพัก มีค่าเช่า บ้านพัก อะไรก็ไม่รู้เยอะแยะไปหมด เอาตรงนั้นมาทำตรงนี้ได้ไหม จะได้ไม่ต้องเสียค่าเช่าบ้านยังไง ก็เป็นการลงทุนบ้านให้เขาไปเลยนะ บางอันก็เช่า พอเกษียณอายุ หรือย้ายออกไป คนอื่นมาอยู่แทน อีกอันเช่าซื้อตอนเกษียณ อยู่ตอนเกษียณ ก็ถ้าคนรุ่นใหม่ที่จบมาก็พยายามติดตามหน่อยนะ ที่ยังไม่เริ่มทำหนี้ มาเป็นหนี้แบบนี้ดีกว่า เป็นมูลค่าวันหน้าถ้าไม่พอใจ เล็กเกินไปก็ขาย แล้วก็ไปซื้อบ้านหลังใหญ่กว่า ก็ได้ นี่ไม่มีทรัพย์สิน มีแต่หนี้ จะทำได้หรือไม่ ต้องแก้ไข
นายกรัฐมนตรี: ด้านต่างประเทศเหมือนกัน ก็ต้องทำต่อทั้งหมด หลายอย่างนะ G 77 เรื่องการประชุม การวางยุทธศาสตร์ร่วมด้านการต่างประเทศ กับแต่ละประเทศต้องชัดเจน รัฐบาลไทยทำทั้งหมด เชิงรุก แสดงบทบาทนำในเชิงพฤตินัย สร้างความเชื่อมโยงให้ได้
พิธีกร: นอกจากนั้นแล้วยังมีด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมอีก ซึ่งทราบว่าทางรัฐบาลนี้ก็ให้ความสนใจในเรื่องนี้ แล้วก็แก้ไขปัญหา ออกกฎหมายเพิ่มมาเป็นจำนวนหลายร้อยฉบับแล้ว
นายกรัฐมนตรี: จริง ๆ แล้วกฎหมายต้องเป็นสากล ทันสมัย กฎหมายที่ไม่จำเป็นก็จะยกเลิก ทีนี้ประชาชนบอกว่ายกเลิกกฎหมาย 5,000 ฉบับ คงไม่ใช่อย่างนั้น เป็นการพูดตัวเลขเฉยๆ กลมๆ ยกตัวอย่าง ไม่ใช่จะเลิก 5,000 ฉบับ เลิกไม่ได้ทั้งหมด เพียงแต่ว่า ไม่มีเวลาหรอก เพราะฉะนั้น ก็ไปดูว่ากฎหมายแรก ๆ ที่เราจะแก้ไขคือที่ยังไม่เป็นสากล ที่จะต้องเพิ่มเติม ให้ทันสมัย อะไรที่ยังออกไม่ครบเช่นประมง อะไรเหล่านี้จะต้องออกให้ครบ หลายอย่าง แล้วก็กฎหมายที่ไม่จำเป็นแล้ว บางทีบอกมาตั้งแต่เรายังไม่เกิดเลย ไม่ได้ใช้ ก็จะต้องยกเลิก อันนี้รวมความไปถึง ไม่ใช่ 5,000 ฉบับ ไม่ใช่ ยกเลิกกฎหมายกฎกระทรวง พรบ. มากมายไปหมด ระเบียบอะไร กฎหมายทั้งสิ้น พันกันไปหมดยังไง แก้อันนี้ ไปกระเทือนอันโน้นหมด วันนี้กฎหมายใหม่มา ต้องออกกฎหมายลูกอีกยังไง แก้กฎหมายลูกอีก กฎกระทรวงทั้งหมด เพราะฉะนั้นต้องเสียเวลาพอสมควร ลดเวลาของกระบวนการศาลเข้าไปอีก ต้องเร่งดำเนินการนะ เท่าที่ทำได้ ที่เราเหลือเวลานี่จะทำให้มากที่สุดนะครับ เอาที่จำเป็นก่อนะ ได้ไหม ต้องร่วมมือกันนะครับ
พิธีกร: ค่ะแล้วก็เมื่อวันพุธที่ผ่านมานะคะ ท่านนายกฯ ได้ลงพื้นที่ไปที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อไปติดตามการบริหารราชการแผ่นดิน แล้วติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตามแนวนโยบายของรัฐบาล แล้วก็ไม่ทราบว่ามีเรื่องใดบ้างคะที่ประสบความสำเร็จแล้วในเรื่องนี้ค่ะ
นายกรัฐมนตรี: สำเร็จหลักๆ ก็คือการแก้ไขหมอกควันระยะแรก ผมเน้นไปว่าก็ต้องหาความร่วมมือกับเพื่อนบ้านด้วย เพราะเกิดทั้งสองฝั่ง เอาของเราที่เราทำได้ผลไปแลกเปลี่ยนกับเขา ให้เขาช่วยกันเพราะกระเทือนทั้งหมด ไม่ใช่เราคนเดียว
การมอบที่ดินทำกิน อย่างที่กล่าวไปแล้ว มีการบูรณาการทุกหน่วยงาน ได้ติดตามเรื่องศูนย์สั่งการเบ็ดเสร็จ Single Command ของการแก้ปัญหาหมอกควันนี่ไง ต้องเป็น Single Command มีหลายหน่วยงานอยู่ในที่เดียวกัน แล้วสั่งงานพร้อมกัน เพื่อจะแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนนะ แล้วก็ประสานไปต่างประเทศด้วย
ในเรื่องของ “อาเซียน” เราก็จัดทำ Road Map อาเซียนปลอดหมอกควัน ภายในปี 2563 ดำเนินการขณะนี้ ลด HOTSPOT ได้ 47 % เชียวนะ จาก 384 จุดปีที่แล้ว เหลือเพียง 30 จุดในปีนี้ Hot Spot คือที่แดง ๆ แล้วโชว์ขึ้นมาในจอ
โครงการป่าชุมชน ก็ไปเกิดขึ้นหลายที่ อยู่ร่วมกับป่า ดูแล – รักษา – ฟื้นฟู “ป่ายั่งยืน” 200 หมู่บ้าน ปี 2558 ทำไปแล้ว 450 หมู่บ้าน ปี 2559 จำนวน 200 หมู่บ้าน ทำไปแล้ว 178 หมู่บ้าน
พิธีกร: แล้วตอนนี้ก็มาถึงช่วงท้ายของรายการแล้ว ท่านนายกฯ มีสิ่งดีๆ หรือมีกิจกรรมอะไรดีๆ จะฝากถึงพี่น้องประชาชนบ้างค่ะ
นายกรัฐมนตรี: เอาย่อๆ แล้วกันนะ เพราะพูดมาเยอะแล้ว นานแล้ว คนก็ไม่อยากฟังอีก เห็นไหมเล่าพูดยังไม่จบเลยนี่ นี่ผมย่อไปตั้งเยอะแล้ว ที่ทำมากกว่านี้อีก ไม่ใช่อวดอ้าง ไม่ใช่พูด แต่บางอันยังไม่เสร็จคนก็รอเมื่อไรเสร็จๆ แล้วบอกเสร็จแล้วให้รีบไป หลายคนพูดแบบนี้ ผมว่าจะได้เข้าใจกัน
สรุปสั้นๆ วันนี้ก็เริ่ม STARTUP วันก่อนผมไปเปิดงาน น่าพอใจ สำหรับเศรษฐกิจใหม่ก็จะเป็นการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ เพื่อจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เอาคนรุ่นใหม่มาทำ แล้วก็พี่จูงน้อง เพื่อนจูงเพื่อน บริษัทใหญ่ จูงบริษัทเล็ก อะไรอย่างนี้ เพื่อจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้ได้ แล้วใช้ระบบ ICT ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ใช้ปัญญาประดิษฐ์ มาตรการยกเว้นภาษี ต่างๆ ยกให้เขา ดูแลให้เขา ขั้นเริ่มต้นนี่นะ มีการเปิดเวทีพบปะ แลกเปลี่ยน สร้างแรงบันดาลใจ จากกูรู –ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา จาก 10 ประเทศ สร้าง “ความคิดเชิงธุรกิจ นักวิเคราะห์” มีเกือบ 200 บริษัท สตาร์อัพ มาออกบู๊ท น่าชื่นใจนะ
นักเรียนนอก หลายคนกลับมาพัฒนาประเทศ หลายคนจบปริญญามา ไปทำอาชีพอื่น เลิก กลับมาบริหารธุรกิจแล้ว เพราะเห็นรัฐบาลนี้สนับสนุนจริงจัง ก็กลับมา มาฟังมาหาเงิน หากองทุนแล้วก็หาพี่ๆ มาดูแล ก็ชี่นชมนะ มีพี่ ๆ ของมหาวิทยาลัย จุฬา ธรรมศาสตร์ แล้วมหาวิทยาลัยเอกชนอื่น ๆ หลายคนเขามาที่งานนี้ด้วย เขาก็ส่งเสริมรุ่นน้องเขา หลายคนที่มีศักยภาพ ไปประกอบการนี่โน่น ผมก็เลยฝากไว้ บอกว่าทำไมนักศึกษาดี ๆ เราก็มากมาย มาดูแลรุ่นน้อง มาผลิตผลงานออกมา บางคนทำไมไม่ค่อยเรียบร้อย ก็ฝากสถาบันไปดูแลด้วย หลายคนเรียนไม่จบสักทีไง แล้วก็สร้างความวุ่นวาย เสียชื่อสถาบัน คนเขาสร้างความดีมากมายไป นักศึกษาช่วยผมด้วยแล้วกันนะ ผมรักทุกคน ก็คือลูก คือหลานผมทั้งนั้น ไม่ว่าจะดี ไม่ดี ก็ลูกหลานผม แต่ผมไม่อยากให้เขาทำให้บ้านเมืองสับสนวุ่นวายไปมากกว่านี้
เรื่องเหล่านี้ไปสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1313 นะ
เรื่องงาน “การศึกษาสร้างชาติ ตลาดคลองผดุงสร้างสุข สัญจร” ช่วง 11 – 13 พฤษภาคมนี้ จะเปิด ก็ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ สัญจร ลดค่าใช้จ่าย ต่อยอด “ตลาดคลองผดุง” ไปที่ต่างจังหวัดด้วยยังไง ผมบอกแล้ว ไม่ได้เกิดแต่ในกรุงเทพฯ
จำหน่ายเครื่องแบบ อุปกรณ์การเรียน คุณภาพดี ราคาถูกกว่าท้องตลาด กว่า 40 %, สินค้าผลิตภัณฑ์ของนักเรียนและประชาชน ให้เขามาขาย ศูนย์บริการสร้างซ่อม (Fix it Center), การแสดงของนักเรียนนักศึกษา, การจัดนิทรรศการเปิดโลกอาชีพ, สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมใหม่ ที่ได้รับรางวัลในระดับภาค ที่พูดมาเหนื่อยไหม ฟังแล้วเหนื่อยไหม พูดก็เหนื่อย ทำก็เหนื่อยกว่า ถ้าคิดแล้วพูด ไม่ต้องทำนี่ ไม่เหนื่อยหรอก นี่เหนื่อย เหนื่อยใจด้วย แรงกดดันก็สูง ต้องทำให้สำเร็จไง ประชาชนเดือดร้อน เห็นแววตาเขาก็ไม่รู้สิ ผมก็เต็มตื้นทุกที เวลาเจอคนจน เวลาพูดถึงเขาผมไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก เสียเวลามามากแล้ว
ขอให้ทุกคนร่วมมือกับรัฐบาล กับ คสช. หลายอย่างที่เป็นกฎหมายก็เชื่อฟังกฎหมายก็ไม่เกิดความขัดแย้ง อย่าบิดเบือนกันอีกต่อไปเลย เลือกที่จะเชื่อ เลือกที่จะฟังบ้าง เลือกที่จะอ่านบ้าง อะไรที่สร้างความขัดแย้งมาก ๆ ก็อย่าไปเชื่อมากนักเลย บางที่ก็มีจุดประสงค์อย่างอื่น เจตนาไม่บริสุทธิ์ไง ผมนี้เจตนาบริสุทธิ์ ถ้าดูหัวใจผมได้ก็จะให้ดูว่าผมให้ทุกอย่างไว้แล้ว ชีวิต จิตใจ ผมให้หมดแล้ว ขอขอบคุณในความร่วมมือ ขอบคุณในการที่เราจะมองอนาคตร่วมกัน อย่างที่เราวาดหวังไว้ใน 20 ปีข้างหน้า ไปพร้อม ๆ กัน สวัสดีครับ
พิธีกร: ค่ะในสัปดาห์นี้นะคะ ท่านนายกฯ ได้เผยให้เห็นมิติของความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม นะคะ ที่พวกเราจะต้องก้าวเดินไปด้วนกันนะคะ เพื่อสร้างประเทศไทยของเราให้มั่นคง และเข้มแข็ง สำหรับรายการคืนความสุขให้คนในชาติวันนี้นะคะ ขอลาไปก่อนค่ะ แล้วพบกับท่านนายกฯ ได้ใหม่ในสัปดาห์หน้าค่ะ สวัสดีค่ะ
————————-