การเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนราษฎร


การเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนราษฎร

ข้อมูลทั่วไป

  • การเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนราษฎร หรือ การบันทึกฐานะแห่งครอบครัวภายหลังการสมรส/หย่า จะต้องดำเนินการที่ประเทศไทยเท่านั้น โดยผู้ร้องที่จดทะเบียนสมรส/หย่าภายใต้กฎหมายต่างประเทศ เช่น กฎหมายสหรัฐอเมริกา และต้องการจะเปลี่ยนนามสกุลหลังการสมรส/หย่า ต้องยื่นคำร้องขอบันทึกฐานะแห่งครอบครัวและเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนราษฎรที่สำนักงานเขต/อำเภอที่ประเทศไทยเท่านั้น หากผู้ร้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายอเมริกา จะต้องนำทะเบียนสมรส/หย่าที่ออกหน่วยราชการสหรัฐอเมริกาไปผ่านการรับรองเอกสาร 3 แห่งในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ Secretary of State, Department of States และสถานเอกอัครราชทูตฯ ก่อนที่จะนำไปใช้ที่ประเทศไทย
  • สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่รับรองลายมือชื่อในเอกสารที่กรอกข้อความไม่ครบถ้วน
  • สถานเอกอัครราชทูตฯ รับรองเฉพาะลายมือชื่อ ไม่รับรองข้อความใดๆ ที่ปรากฎในเอกสาร

ขั้นตอนการดำเนินการ (4 ขั้นตอน)

ก่อนที่จะยื่นคำร้องต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ท่านจะต้องนำทะเบียนสมรส/หย่าท้องถิ่นที่ออกโดยทางการสหรัฐฯ ออกให้ (US Marriage Certificate) ไปผ่านการรับรอง (Authentication) จากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาก่อน โดยมีลำดับตามขั้นตอนที่ 1 และ 2 (สามารถดำเนินการได้ทางไปรษณีย์) ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1  นำทะเบียนสมรส/หย่าท้องถิ่นของทางราชการสหรัฐฯไปผ่านการรับรองจาก Office of the Secretary หรือ State Authentication ของมลรัฐที่ออกสูติบัตรท้องถิ่นให้  ท่านสามารถหาข้อมูลของหน่วยงานและสถานที่สำหรับส่งเอกสารไปรับรองได้ที่

(www.nass.org เลือก Business Services > Apostilles/Authentications > เลือกมลรัฐที่ออกเอกสารท้องถิ่นให้)

 

ขั้นตอนที่ 2  นำทะเบียนสมรส/หย่าท้องถิ่นที่ผ่านการรับรองในขั้นตอนที่ 1  ไปผ่านการรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ Department of State, Authentication Office, Washington DC ท่านสามารถหาข้อมูลของหน่วยงานและสถานที่สำหรับส่งเอกสารไปรับรองได้ที่

Authentication Office, United State Department of State

600 19th Street, NW
Washington D.C. 20006
เบอร์โทร (202)485-8000

https://travel.state.gov/content/travel/en/legal-considerations

*** ทะเบียนสมรส/หย่าท้องถิ่นที่ออกโดยทางการสหรัฐฯ จะต้องผ่านการรับรอง 2 แห่งดังกล่าวก่อนที่ยื่นต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ  เนื่องจากเป็นระเบียบในการนำเอกสารต่างประเทศไปใช้ต่อหน่วยราชการไทย ซึ่งจะต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงต่างประเทศของประเทศนั้นๆ ก่อนเสมอ ***

 

ขั้นตอนที่ 3  ยื่นเอกสารต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องได้ 2 วิธี คือ

  • ยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ระหว่างเวลา 09.00 – 12.00 น. วันจันทร์ – วันศุกร์                                      (เว้นวันหยุดราชการสถานทูต)
  • ยื่นคำร้องทางไปรษณีย์                                                                                                                                                 ที่อยู่

Royal Thai Embassy, Consular Office

2300 Kalorama Rd., N.W.

Washington DC 20008

ทั้งนี้ การยื่นคำร้องต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อนำไปใช้ในการเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนราษฎรที่ประเทศไทย จะแบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังนี้

3.1  กรณีผู้ร้องและคู่สมรสเดินทางไปแสดงตนที่สำนักงานเขต/อำเภอ

3.2  กรณีคู่สมรสไม่สามารถเดินทางไปแสดงตนที่สำนักงานเขต/อำเภอ

3.3  กรณีผู้ร้องและคู่สมรสไม่สามารถเดินทางไปแสดงตนที่สำนักงานเขต/อำเภอ (มอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน)

————————————

3.1  กรณีผู้ร้องและคู่สมรสเดินทางไปแสดงตนที่สำนักงานเขต/อำเภอ

  • กรอกคำร้องนิติกรณ์ [Download] จำนวน 1 ชุด
  • ทะเบียนสมรส/หย่า ที่ผ่านการรับรองจาก Secretary of State และ Department of State ตัวจริง จำนวน 1 ชุด พร้อมสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ร้องและคู่สมรส (ที่ยังมีอายุอยู่) หน้าที่มีรูปถ่ายจนถึงหน้าที่ประทับตราวันต่ออายุและวันหมดอายุ จำนวน 1 ชุด (หากคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติไม่มีหนังสือเดินทาง ให้ถ่ายสำเนาของสูติบัตร และ D. Card/ Driver’s License)

ค่าธรรมเนียม

  • ค่าธรรมเนียมในการรับรองทะเบียนสมรส/หย่า ฉบับละ 15.00 ดอลลาร์สหรัฐ
  • วิธีการชำระเงิน ชำระเป็น Money Order หรือ Cashier Check สั่งจ่าย “The Royal Thai Embassy”

 

3.2  กรณีคู่สมรสไม่สามารถเดินทางไปแสดงตนที่สำนักงานเขต/อำเภอ

  • กรอกคำร้องนิติกรณ์ [Download] จำนวน 1 ชุด
  • ในกรณีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ กรอกหนังสือตกลงการใช้ชื่อสกุล(Download) จำนวน 1 ชุด ซึ่งท่านและคู่สมรสต้องไปเซ็นชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ Notary Public เพื่อรับรองลายเซ็นของท่านและคู่สมรส หลังจากนั้น ดำเนินการตามขั้นตอน 1-3 ข้างต้น (Secretary of State และ Department of State และส่งมาที่สถานเอกอัครราชทูตฯ)
  • ในกรณีคู่สมรสเป็นชาวไทย กรอกหนังสือตกลงการใช้ชื่อสกุล(Download) จำนวน 1 ชุด ผู้ร้องและคู่สมรสต้องมีแบบฟอร์มรับรองลายมือชื่อ Notary Public for Signature(Download) ซึ่งท่านและคู่สมรสต้องไปเซ็นชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ Notary Public เพื่อรับรองลายเซ็นของท่านและคู่สมรส คนละ 1 ชุด
  • ทะเบียนสมรส/หย่า ที่ผ่านการรับรองจาก Secretary of State และ Department of State ตัวจริง จำนวน 1 ชุด พร้อมสำเนาทุกหน้า จำนวน 2 ชุด
  • สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ร้องและคู่สมรส (ที่ยังมีอายุอยู่) หน้าที่มีรูปถ่ายจนถึงหน้าที่ประทับตราวันต่ออายุและวันหมดอายุ จำนวน 1 ชุด (หากคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติไม่มีหนังสือเดินทาง ให้ถ่ายสำเนาของสูติบัตร และ I.D. Card/ Driver’s License) สำเนาจะต้องผ่านการรับรองโดย Norary Public คนละ 1 ชุด

ค่าธรรมเนียม

  • ค่าธรรมเนียม 00 ดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย
  1. ค่าธรรมเนียมในการรับรองทะเบียนสมรส/หย่า ฉบับละ 15.00 ดอลลาร์สหรัฐ
  2. ค่าธรรมเนียมในการรับรองลายมือชื่อในหนังสือตกลงการใช้ชื่อสกุล ฉบับละ 15.00 ดอลลาร์สหรัฐ
  • วิธีการชำระเงิน ชำระเป็น Money Order หรือ Cashier Check สั่งจ่าย “The Royal Thai Embassy”

————————————

3.3  กรณีผู้ร้องและคู่สมรสไม่สามารถเดินทางไปแสดงตนที่สำนักงานเขต/อำเภอ (มอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน)

  • กรอกคำร้องนิติกรณ์(Download) จำนวน 1 ชุด
  • กรอกหนังสือตกลงการใช้ชื่อสกุล(Download) จำนวน 1 ชุด (ขั้นตอนตามข้อ 3.2)
  • กรอกหนังสือมอบอำนาจสำหรับเปลี่ยนนามสกุล(Download) จำนวน 1 ชุด
  • กรณียื่นคำร้องทางไปรษณีย์ ผู้ร้องต้องมีแบบฟอร์มรับรองลายมือชื่อ Notary Public for Signature(Download) ซึ่งท่านต้องไปเซ็นชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ Notary Public เพื่อรับรองลายเซ็นของท่าน คนละ 1 ชุด
  • ทะเบียนสมรส/หย่า ที่ผ่านการรับรองจาก Secretary of State และ Department of State ตัวจริง จำนวน 1 ชุด พร้อมสำเนาทุกหน้า จำนวน 2 ชุด
  • หนังสือเดินทางของผู้ร้อง เล่มจริงที่ยังมีอายุใช้งาน
  • สำเนาหนังสือเดินทางของคู่สมรส (ที่ยังมีอายุอยู่) หน้าที่มีรูปถ่ายจนถึงหน้าที่ประทับตราวันต่ออายุและวันหมดอายุ จำนวน 1 ชุด (หากคู่สมรสไม่มีหนังสือเดินทาง ให้ถ่ายสำเนาของ D. Card หรือ Driver’s License) สำเนาจะต้องผ่านการรับรองโดย Norary Public จำนวน 1 ชุด

ค่าธรรมเนียม

  • ค่าธรรมเนียม 60.00 ดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย
  1. ค่าธรรมเนียมในการรับรองทะเบียนสมรส/หย่า ฉบับละ 15.00 ดอลลาร์สหรัฐ
  2. ค่าธรรมเนียมในการรับรองลายมือชื่อในหนังสือตกลงการใช้ชื่อสกุล ฉบับละ 15.00 ดอลลาร์สหรัฐ
  3. ค่าธรรมเนียมในการรับรองลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ฉบับละ 15 ดอลลาร์สหรัฐ
  4. ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองสำเนาถูกต้องของหนังสือเดินทาง ฉบับละ 15.00 ดอลลาร์สหรัฐ
  • วิธีการชำระเงิน ชำระเป็น Money Order หรือ Cashier Check สั่งจ่าย “The Royal Thai Embassy”

 


ระยะเวลาในการดำเนินการ

การออกเอกสารจะใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ นับจากวันที่สถานเอกอัครราชทูตฯได้รับคำร้อง

การขอรับเอกสาร

ผู้ร้องสามารถรับเอกสารได้ 2 วิธี

  • รับเอกสารด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยช่วงเวลาในการรับเอกสาร คือ

11.00 – 12.00 น. วันจันทร์ – วันศุกร์ (เว้นวันหยุดราชการสถานทูต)

  • รับเอกสารทางไปรษณีย์ ท่านต้องดำเนินการ ดังนี้
  1. เตรียมซอง Express Mail ของ S. Post Office ติดแสตมป์ ราคา 19.95 ดอลลาร์สหรัฐ

(ไม่รับ Meter Stamp)

  1. เขียนชื่อ-ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ บนซอง ถึงตัวท่านเองให้ชัดเจน

 

หมายเหตุ 1.สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่รับผิดชอบกรณีเอกสารสูญหายทางไปรษณีย์ ไม่ว่ากรณีใด

  1. ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ www.thaiembdc.org หัวข้อ Application form

 

ขั้นตอนที่ 4  การดำเนินการในประเทศไทย

4.1  นำเอกสารตัวจริงที่ผ่านขั้นตอนการรับรองเอกสารทั้งสามแห่งในสหรัฐอเมริกา (Office of the Secretary of State, Department of State และสถานเอกอัครราชทูตฯ) ไปประเทศไทยและนำใบทะเบียนสมรส/หย่า ไปแปลเป็นภาษาไทยได้ตามร้านรับจ้างแปลทั่วไป

 

4.2  นำใบทะเบียนสมรส/หย่า พร้อมคำแปลภาษาไทย ไปที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อรับรองเอกสารดังกล่าว

กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ : 02-575-1056-61 โทรสาร : 02-575-1054

เวลาทำการ : 08.30-14.30 น. (ปิดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

อีเมลล์ : consular04@mfa.go.th  เวปไซต์ www.consular.go.th

 

4.3  นำเอกสารตัวจริงและคำแปลที่ผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ไปยื่นคำร้องต่อที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขตที่ท่านมีชื่ออยู่ เพื่อทำการบันทึกสถานะครอบครัว โดยเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้าน หลังจากนั้น ท่านจะต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ เพื่อนำไปใช้ทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ (e-passport)