ทะเบียนหย่าต่างสำนัก
การจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน
(คู่หย่าอีกฝ่ายอยู่ที่ประเทศไทย)
หลักเกณฑ์ |
|
การหย่าต่างสำนักทะเบียน คือ การหย่าโดยความยินยอมของคู่หย่าทั้งสองฝ่าย โดยที่ต่างฝ่ายต่างอยู่คนละแห่ง ไม่สามารถเดินทางไปจดทะเบียนหย่า ณ สำนักทะเบียนเดียวกันได้ ทั้งนี้ คู่หย่าจะต้องตกลงกันว่า ฝ่ายใดจะเป็นผู้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนก่อนที่สำนักทะเบียนใด และจะให้สำนักทะเบียนใดเป็นผู้จดทะเบียนให้ การหย่าจะสมบูรณ์ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนแห่งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว
การหย่าต่างสำนักทะเบียน มี 2 แบบ ดังนี้ |
แบบ 1 คู่หย่าฝ่ายที่อยู่ประเทศไทยเป็นผู้ยื่นเรื่องที่สำนักทะเบียนที่ประเทศไทย |
สำนักทะเบียนแห่งที่ 1 คือ สำนักทะเบียนที่ประเทศไทย
สำนักทะเบียนแห่งที่ 2 คือ สถานเอกอัครราชทูตฯ ซึ่งจะเป็นผู้จดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหย่าให้ ข้อมูลทั่วไป คู่หย่าฝ่ายที่อยู่ประเทศไทยเป็นผู้เริ่มยื่นขอจดทะเบียนหย่าที่สำนักทะเบียนที่ประเทศไทยก่อน เอกสารการหย่าต่างสำนักทะเบียนจะถูกส่งผ่านกระทรวงการต่างประเทศมายังสถานเอกอัครราชทูตฯ หลังจากที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับเอกสารแล้ว จะดำเนินการติดต่อคู่หย่าฝ่ายที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาเพื่อมาดำเนินการจดทะเบียนหย่า (ด้วยตนเอง) ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือในการให้บริการกงสุลสัญจร ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะเป็นสำนักทะเบียนที่ออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหย่าให้ ขั้นตอนการดำเนินการ
2.1 กรอกแบบฟอร์ม “คำร้องนิติกรณ์” 2.2 หนังสือเดินทาง และ/หรือบัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงที่ยังมีอายุอยู่ (หากเป็นชาวต่างชาติ ให้แสดงหนังสือเดินทางของประเทศนั้น ๆ) 2.3 สำเนาทะเบียนบ้าน ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก 2.4 US ID หรือ US Driver License (ถ้ามี) 2.5 ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมรสฉบับจริง หรือ สำเนาที่มีตราประทับรับรองจากสำนักงานเขต/อำเภอ (หากไม่มี จะต้องไปดำเนินการขอคัดสำเนามาก่อน)
|
แบบที่ 2 คู่หย่าฝ่ายที่อยู่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ยื่นเรื่องที่สถานเอกอัครราชทูตฯ |
สำนักทะเบียนแห่งที่ 1 คือ สถานเอกอัครราชทูตฯ
สำนักทะเบียนแห่งที่ 2 คือ สำนักทะเบียนที่ประเทศไทย ซึ่งจะเป็นผู้จดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหย่าให้ ข้อมูลทั่วไป คู่หย่าฝ่ายที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้เริ่มยื่นขอจดทะเบียนหย่าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ (จะต้องเตรียมเอกสารจาก คู่หย่าที่อยู่ประเทศไทยเพื่อประกอบการยื่นขอ) เอกสารการหย่าต่างสำนักทะเบียนจะถูกส่งผ่านกระทรวงการต่างประเทศไปยังสำนักทะเบียนที่ประเทศไทย (ตามที่แจ้ง) ทั้งนี้ สำนักทะเบียนที่ประเทศไทย จะเป็นสำนักทะเบียนที่ออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหย่าให้ ขั้นตอนการดำเนินการ เอกสารที่ใช้และขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง
1.1 หนังสือสัญญาหย่า ต้องกรอกข้อความรายละเอียดต่าง ๆ รวมทั้งข้อตกลงเรื่องทรัพย์สิน บุตร เรื่องอื่น ๆ และคำนำหน้าชื่อ ฝ่ายหญิงหลังการหย่า โดยคู่หย่าฝ่ายที่อยู่ประเทศไทยและพยานคนไทย 2 คน จะต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานเขต/อำเภอ และให้เจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อและประทับตรารับรองลายมือชื่อของคู่หย่าและพยานทั้งสองด้วย (ส่วนช่องลายมือชื่อคู่หย่าฝ่ายที่อยู่สหรัฐอเมริกาให้เว้นว่างไว้ เพื่อมาลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สถานเอกอัครราชทูตฯ) คำแนะนำการกรอกหนังสือสัญญาหย่า : – ข้อตกลงในการหย่าเรื่องบุตร โปรดระบุจำนวนบุตร ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด และอายุของบุตรแต่ละคน (ปีบริบูรณ์) หากมีบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุน้อยกว่า 20 ปี บริบูรณ์) ต้องระบุผู้ที่จะมีอำนาจปกครองบุตรภายหลังการหย่าด้วย แต่หาก ไม่มีบุตรร่วมกัน ให้ระบุว่า “ไม่มี” – ถ้าไม่ต้องการระบุข้อตกลงในการหย่าเรื่องทรัพย์สินให้เขียนว่า “ไม่ระบุ” – ถ้าไม่ต้องการระบุข้อตกลงในการหย่าเรื่องอื่น ๆ ให้เขียนว่า “ไม่มี” 1.2 สำเนาเอกสารประจำตัวของคู่หย่าฝ่ายที่อยู่ประเทศไทยและพยานทั้งสอง ซึ่งต้องได้รับการรับรองสำเนาถูกต้องจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเขต/อำเภอ หรือเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ เช่น สำเนาหนังสือเดินทาง สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ฯลฯ
2.1 กรอกแบบฟอร์ม “คำร้องขอจดทะเบียนหย่า” คำแนะนำการกรอกคำร้องขอจดทะเบียนหย่า – ฝ่ายหญิงจะต้องวงเล็บนามสกุลเดิมก่อนสมรสไว้ด้วย (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) – การกรอกอายุจะต้องเป็นอายุที่ครบปีบริบูรณ์ เช่น อายุ “30 ปี 7 เดือน” ให้กรอกอายุ “30 ปี” – ช่องลายมือชื่อคู่หย่าฝ่ายที่อยู่ประเทศไทยให้เว้นว่างไว้ 2.2 กรอกแบบฟอร์ม “บันทึก เรื่อง การจดทะเบียนการหย่าต่างสำนักทะเบียน “ คำแนะนำการกรอกบันทึกเรื่องการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน – ข้อมูลของนายทะเบียนให้เว้นว่างไว้ 2.3 กรอกแบบฟอร์ม “คำร้องนิติกรณ์” 2.4 กรอกแบบฟอร์ม “คำร้องขอนัดหมายการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน” 2.5 หนังสือเดินทาง และ/หรือบัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงที่ยังมีอายุอยู่ (หากเป็นชาวต่างชาติ ให้แสดงหนังสือเดินทางของประเทศนั้น ๆ) 2.6 สำเนาทะเบียนบ้าน ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก 2.7 US ID หรือ US Driver License (ถ้ามี) 2.8 ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมรสฉบับจริง หรือ สำเนาที่มีตราประทับรับรองจากสำนักงานเขต/อำเภอ (หากไม่มี จะต้องไปดำเนินการขอคัดสำเนามาก่อน) |
ทำการนัดหมายล่วงหน้า โดยส่งสำเนาเอกสารที่ใช้ตามข้อ 1 และ 2 ให้สถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อตรวจสอบและจัดพิมพ์เอกสารการจดทะเบียนหย่าล่วงหน้า (อย่างน้อย 10 วันทำการ) ทางไปรษณีย์ และรอการยืนยันวันนัดจากเจ้าหน้าที่ |
ที่อยู่สถานเอกอัครราชทูตฯ
Royal Thai Embassy, Consular Office 2300 Kalorama Rd. N.W. Washington D.C. 20008 โทรศัพท์ (202)640-5325 Fax (202)459-9536
หมายเหตุ หากมีคำถาม หรือสงสัย กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่ โทรศัพท์ (202) 684- 8493 ติดต่อโอเปอร์เรเตอร์
|